การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินเพื่อการลงทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพบีทีชนิดน้ำเข้มข้นเพื่อใช้กำจัดแมลงศัตรู

Main Article Content

จริยา จันทร์ไพแสง
ปรียาวรรณ์ สุรศรีสกุล
จักรกฤษณ์ พจนศิลป์

Abstract

บทคัดย่อ

 

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์บีทีในประเทศไทย และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์บีทีภายใต้ชื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการวิเคราะห์ใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักวิจัยในโครงการวิจัยการผลิตผลิตภัณฑ์บีทีชนิดน้ำเข้มข้นระดับกึ่งอุตสาหกรรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และผู้นำเข้าจำนวน 4 ราย ผลการศึกษาพบว่าปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์บีทีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่าปัจจุบันมีผู้นำเข้าจำนวน 10 ราย และจัดเป็นตลาดผู้ขายน้อยราย โดยหน่วยธุรกิจใช้กลยุทธ์การทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างจากคู่แข่งร่วมกับกลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์แต่จะหลีกเลี่ยงการใช้กลยุทธ์การแข่งขันโดยตรงโดยการตัดราคา สำหรับการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนที่อายุโครงการ 15 ปี ณ อัตราคิดลดร้อยละ 5.25 ต่อปี พบว่าทั้ง 3 กรณี มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน สำหรับผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวพบว่าเกือบทุกกรณีมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนยกเว้นกรณีที่ต้นทุนอาหารเลี้ยงเชื้อเพิ่มร้อยละ 10 และราคาผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ 10 ที่ใช้ starter ขนาด 50 ลิตร และ fermenter ขนาด 1,000 ลิตร และพบว่าการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้มีผลต่อความคุ้มค่ามากกว่าด้านต้นทุน ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าการผลิตบีทีมีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจและอาจดำเนินการในรูปของ SME แต่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดของแผนธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาด

คำสำคัญ: การวิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุน; บีที; ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช

 

Abstract

This study has 2 objectives which are (1) to study on general situation of production and marketing of the BT product in Thailand (2) to conduct financial feasibility study of BT production investment under KU product brand. The analysis used the interview data from the researchers of research project entitled Development of Concentrate BT Production at Pilot Scale of Kasetsart University and 4 importers. The study results of general situation of production and marketing found that demand of BT product is increasing. At present, in Thailand there are 10 BT product importers and the market is considered as oligopolistic market. The firms in the market competed to each other by conducting product property differentiation strategy including marketing channel and promotion strategies rather than directly competing by cut-off price strategy. Results of financial feasibility study under 15 years project life and 5.25 discount rate showed that BT production was feasible for all cases. In addition, sensitivity analysis found that most of all these situations were still feasible except the case of 10 % increasing in bacterial culture media cost with 10% decreasing of BT product price under production scheme by using 50 liters starter and 1,000 liters. Furthermore, analysis results showed that the change on income had more influences to its production feasibility than the change on cost. Therefore, the study could be concluded that BT product production is financially feasible. Also, the firm can be probably operated as SME but further studies about business plan and marketing strategies are required.

Keywords: financial feasibility study of investment; BT; biopesticide

Article Details

Section
บทความวิจัย