เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของเด็กนักเรียนเริ่มวัยรุ่นระหว่างเด็กที่มีดัชนีมวลกายปกติและมากเกิน

Main Article Content

พิมพ์อำไพ เวนเซล
ปรียาภรณ์ สองศร
จิตานันท์ เหล่าศิริไพศาล

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของเด็กนักเรียนเริ่มวัยรุ่น อายุ 12-14 ปี ระหว่างเด็กที่มีดัชนีมวลกายปกติ (น้อยกว่า 25 กก./ม.2) และเด็กที่มีดัชนีมวลกายมากเกิน (มากกว่า 25 กก./ม.2) จำนวน 120 คน จากการสุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นเด็กนักเรียนที่มีดัชนีมวลกายปกติ ชาย 30 คน หญิง 30 คน และเด็กนักเรียนที่มีดัชนีมวลกายมากเกิน ชาย 30 คน หญิง 30 คน นำมาทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย การวัดไขมันในร่างกายเป็นเปอร์เซ็นต์ การวัดความยืดหยุ่น การวัดแรงเหยียดขาและหลัง และการวัดความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดที่ถูกนำไปใช้ในการออกกำลังกาย ผลการทดสอบนำมาเปรียบเทียบในเพศเดียวกัน พบว่าเด็กนักเรียนที่มีดัชนีมวลกายปกติเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กนักเรียนที่มีดัชนีมวลกายมากเกินทั้งชายและหญิง มีค่าไขมันในร่างกายและค่าความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05 ค่าความยืดหยุ่นและค่าแรงเหยียดขาและหลังไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05 สรุปว่าไขมันในร่างกายมีผลต่อการใช้ออกซิเจนสูงสุดที่ถูกนำไปไปใช้ในการออกกำลังกาย

คำสำคัญ : ดัชนีมวลกาย; ไขมันในร่างกาย

 

Abstract

The purpose of this study was to compare the physical ability in prepubertal students aged 12-14 years between normal body mass index (less than 25 kg/m2) and over body mass index (more than 25 kg/m2). One hundred and twenty randomized students were assigned into normal body mass index group (30 male and 30 female) and over body mass index group (30 male and 30 female). Physical performances consisted of body fat in percentage, flexibility, back and leg strength and maximum oxygen uptake (VO2 max). The results were compared in the same gender. The students with normal BMI (male and female) compared to students with over BMI (male and female). The results revealed that the body fat and the maximum oxygen uptake (VO2 max) had significant differences at P < 0.05. In cases of the flexibility and the back and leg strength had no significant differences. We conclude that fat in the body effects on maximum oxygen uptake.

Keywords: body mass index (BMI); body fat

Article Details

Section
บทความวิจัย