ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลแวนด้าหมู่เข็มด้วยแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์

Main Article Content

จินต์ ทองสม
ธีระชัย ธนานันต์
นฤมล ธนานันต์

Abstract

 บทคัดย่อ

 

กล้วยไม้สกุลแวนด้าหมู่เข็มมีดอกขนาดเล็ก พบกระจายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันนิยมนำมาปรับปรุงพันธุ์เป็นกล้วยไม้ลูกผสม ทำให้การจำแนกชนิดและพันธุ์ตามลักษณะสัณฐานมีความยุ่งยากและเกิดความสับสน ดังนั้นจึงใช้เทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของพันธุ์กล้วยไม้สกุลแวนด้าหมู่เข็ม จำนวน 10 พันธุ์ โดยใช้ไพรเมอร์แบบสุ่ม 21 ชนิด สำหรับแฮตอาร์เอพีดี และใช้ไพรเมอร์ไมโครแซทเทลไลต์ 7 ชนิด สำหรับไอเอสเอสอาร์ พบว่าลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่สร้างขึ้นปรากฏแถบดีเอ็นเอที่ให้ความแตกต่างกัน ทั้งหมด 372 แถบ และ 99 แถบ ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์รูปแบบของแถบดีเอ็นในแต่ละพันธุ์พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงอยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.70 และ 0.26 ถึง 0.71 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Mental test พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์กันเท่ากับ 0.76 แสดงว่าเทคนิคเครื่องหมายทั้งสองสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันได้ โดยให้ค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงอยู่ระหว่าง 0.29 ถึง 0.70 และมีค่า PIC เฉลี่ย 0.26 เมื่อสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ด้วยวิธี UPGMA พบว่าแผนภูมิที่ได้ทั้ง 3 แผนภูมิ นั้นจำแนกกลุ่มได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงสรุปว่าเทคนิคเครื่องหมายทั้งสองมีประสิทธิภาพในการประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และสามารถใช้ในการจำแนกชนิดของกล้วยไม้สกุลแวนด้าหมู่เข็มได้ 

คำสำคัญ : สกุลแวนด้า; กล้วยไม้เข็ม; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; แฮตอาร์เอพีดี; ไอเอสเอสอาร์

 

Abstract

Vanda section Ascocentrum is orchid that has tiny petal. It almost distributes on Southeast Asia and usually cross breeds for new hybrids with other Vanda in recently. Result in Vanda section Ascocentrum identification base on morphology have been confusion and unclearly. Therefore HAT-RAPD and ISSR techniques were used to assessment of genetic relationships among 10 species of Vanda section Ascocentrum. There were used 21 random primers for HAT-RAPD and 7 microsatellite primers for ISSR were selected. The total 372 and 99 bands were detected respectively. The both DNA marker techniques were produced different DNA fingerprinting that was analyzed similarity coefficient. There were 0.30-0.70 and 0.26-0.72 respectively and analyzed correlation coefficient with the Mental test is 0.76. It was indicated that the data from both DNA marker techniques can be analyze together, similarity coefficient was 0.29-0.70 and PIC average 0.26. The dendrogram were constructed based on UPGMA method showed similar among 3 dendrograms of Vanda section Ascocentrum. Consequently, both DNA marker techniques were effectively to assessment of genetic relationships and identify species of Vanda section Ascocentrum. 

Keywords: Vanda; Ascocentrum; genetic relationship; HAT-RAPD; ISSR

Article Details

Section
Biological Sciences