สมบัติต้านอนุมูลอิสระและพรีไบโอติกของเห็ดป่าสะแกราช

Main Article Content

ธารทิพย์ รัตนะ
ธนากร แสงสง่า

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและพรีไบโอติกในเห็ดป่าจากพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ เห็ดระโงกขาว (Amanita princeps Corner & Bas.) เห็ดระโงกเหลือง [A. hemibapha (Berk. et Br.) Sacc. subsp. javanica Corner et Bas.] เห็ดน้ำแป้ง (Russula alboareolata Hongo) เห็ดตะไคล (R. delica Fr.) เห็ดน้ำหมาก (R. luteotacta Rea.) เห็ดหล่มหมวกเขียว (R. aeruginea Lindbl.) เห็ดขมิ้นเล็กหรือเห็ดมันปูเล็ก (Cantharellus minor Peck.) เห็ดขมิ้นใหญ่ [Craterellus oderatus (Schw.) Fr.] และเห็ดบดหรือเห็ดลมหรือเห็ดกระด้าง (Lentinus polychrous Lev.) การศึกษานี้วัดสารต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด คลอโรฟิลล์ เบต้าแคโรทีน ไลโคปีน และวัดการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์พรีไบโอติกของ Lactobacillus sp. ผลการศึกษาพบว่าเห็ดบดหรือเห็ดลมมี IC50 เท่ากับ 47.89, 49.00 และ 49.56 % ที่ความเข้มข้น 15, 25 และ 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ซึ่งค่าสูงกว่า Trolox ที่ IC50 เท่ากับ 36.405 % โดยเห็ดบดหรือเห็ดลมเป็นเห็ดเพียงชนิดเดียวที่มีค่าสูงกว่าสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน ยิ่งไปกว่านั้นเห็ดชนิดนี้ยังมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูงที่สุดอีกด้วยที่ 18.646 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิกรัม ผลการศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด และเบต้าแคโรทีนสูงสุดที่ความเข้มข้น 25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในเห็ดน้ำหมาก ส่วนของคุณสมบัติในการเป็นพรีไบโอติกของเห็ดอบแห้งนั้นมีการเจริญของจุลินทรีย์แตกต่างกันไปตามชนิดของเห็ดที่ใช้ทดสอบ โดยพบว่าส่วนก้านของเห็ดระโงกขาวและส่วนหมวกของเห็ดระโงกเหลืองแสดงถึงความสามารถในการส่งเสริมการเจริญสูงที่สุด ที่ 173.411 และ 178.74 % ตามลำดับ

คำสำคัญ : สารต้านอนุมูลอิสระ; พรีไบโอติก; เห็ดป่าที่กินได้

Abstract

The antioxidant and prebiotic properties was studied in nine wild edible mushrooms in Sakaerat biosphere reverse: Amanita princeps Corner & Bas., A. hemibapha (Berk. Et Br. Sacc. Subsp. javanica Corner et Bas.), Russula alboareolata Hongo, R. delica Fr., R. luteotacta Rea., R. aeruginea Lindbl., Cantharellus minor Peck., Craterellus oderatus (Schw.) Fr. and Lentinus polychrous Lev. This study was measured DPPH radical scavenging activity, total phenolic content, chlorophyll, ß-carotene, lycopene and enhanced activity of Lactobacillus sp. It was found that Lentinus polychrous Lev. had IC50 as 47.89, 49.00 and 49.56 %, in concentration at 15, 25 and 50 mg/ml respectively higher than Trolox, IC50 as 36.405 %. It was showed that one type mushroom has higher antioxidant. Moreover, Lentinus polychrous Lev. showed the most of chlorophyll at 18.646 mg/100mg. The analysis revealed that R. luteotacta Rea. was showed the highest total phenolic contents and ß-carotene at 65.99 mg GAE/g and 0.559 mg/100mg of concentration at 25 mg/ml. Potential prebiotic activity of dried wild mushroom was showed different growth characteristics dependently on used mushrooms. The dried mushrooms of the stalk of Amanita princeps Corner & Bas. and the cap of A. hemibapha (Berk. Et Br. Sacc. Subsp. javanica Corner et Bas.) showed the most of enhance activity at 173.411 and 178.74 %, respectively.

Keywords: antioxidant; prebiotic; wild edible mushroom

Article Details

Section
Biological Sciences