การศึกษาประสิทธิภาพของเสาสัญญาณเครือข่ายไร้สาย

Main Article Content

ณัฐชามญฑ์ ศรีจำเริญรัตนา
กายรัฐ เจริญราษฎร์

Abstract

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะประสบกับปัญหาเสาสัญญาณที่ใช้รับ-ส่งสัญญาณได้ระยะทางไม่ไกลมากพอ หรือความเข้มของสัญญาณไม่แรงพอ อีกทั้งเสาสัญญาณที่ให้ความแรงและได้ระยะทางมากก็มีราคาแพง จากปัญหาดังกล่าว ทางคณะผู้วิจัยจึงศึกษาประสิทธิภาพเสาสัญญาณแบบกระจายสัญญาณรอบทิศทาง (omni-directional) เพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ใช้ได้ทราบถึงหลักการทำงาน โครงสร้าง และการออกแบบเสาสัญญาณให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงหรือดีกว่าเสาสัญญาณที่มากับอุปกรณ์กระจายสัญญาณไร้สาย (access point) จากวัสดุที่หาได้ง่าย และสามารถนำมาประดิษฐ์ได้เอง ซึ่งจากผลการทดสอบประสิทธิภาพของผู้วิจัย พบว่าขดลวดและการซ้อนเสาสัญญาณในแนวตั้ง (vertical stacking) ช่วยเพิ่มความแรงและระยะทางในการรับส่งสัญญาณได้ดีกว่าการเพิ่มความยาวทางกายภาพ โดยขนาดของขดลวดจะมีประสิทธิภาพดีที่สุดที่เส้นผ่านศูนย์กลางของขดลวดเป็น 6 มิลลิเมตร และขนาดหน้าตัดของลวดที่ใช้ทำเสาสัญญาณให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือ 1.5 ตารางมิลลิเมตร

คำสำคัญ : เสาสัญญาณ; omni-directional; ความแรงของสัญญาณ

Abstract

Today, the wireless communications enable people to access computer networks more easily. But, most users are often faced with the problem of antennas used to receive-transmission distance isn’t far enough or the intensity of the signal isn’t strong enough and the antenna that gives strength signal and long transmission distance is expensive. From such problems, we have study on efficiency omni-directional antenna for the user to know which structure and design of the antenna effectively close to the commercial antenna from the inexpensive material which is easy to find and can be fabricated by themselves. The results of our experiment show that coil and vertical stacking improves strength and distance signal transmission over an increase in physical length. The size of the coil is the best effective diameter of the coil is 6 mm. And a cross section of the wire used to make antennas for the best performance is 1.5 square millimeters.

Keywords: antenna; omni-directional; signal strength

Article Details

Section
Engineering and Architecture