ฤทธิ์การป้องกันภาวะเครียดจากออกซิเดชันในเซลล์ลำไส้มนุษย์ของข้าวหมากจากข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว (Oryza sativa L. variety Leum Phua)

Main Article Content

ยศพร พลายโถ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณวิตามินอี โพลีฟีนอลทั้งหมด แอนโทไซยานินทั้งหมด แกมมาโอไรซานอล สมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และศักยภาพในการป้องกันภาวะเครียดจากออกซิเดชันในเซลล์ลำไส้มนุษย์ของข้าวหมาก ทั้งที่ไม่ผ่านและผ่านการจำลองการย่อยในระบบทางเดินอาหาร ข้าวหมากเตรียมจากข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวหุงสุก หมักกับลูกแป้งนาน 3 วัน ผลการศึกษาพบว่าข้าวหมากที่ผ่านการจำลองการย่อยมีปริมาณวิตามินอีและโพลีฟีนอลทั้งหมดมากกว่าข้าวหมากที่ไม่ผ่านการจำลองการย่อย และข้าวเหนียวดำสุกตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าข้าวหมากที่ไม่ผ่านการจำลองการย่อยมีปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดสูงสุด ขณะที่ข้าวเหนียวดำสุกมีปริมาณแกมมาโอไรซานอลมากที่สุด ผลการต้านอนุมูลอิสระของตัวอย่างที่ศึกษาด้วยวิธี DPPH และ FRAP แสดงให้เห็นว่าข้าวหมากที่ผ่านการจำลองการย่อยมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวหมากที่ไม่ผ่านการจำลองการย่อย และข้าวเหนียวดำสุก ตามลำดับ สิ่งที่น่าสนใจในงานวิจัยนี้ คือ เซลล์ลำไส้ที่ได้รับสารสกัดตัวอย่างร่วมกับ H2O2 มีปริมาณการหลั่ง IL-8 ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมผลบวก (ได้รับH2O2 เพียงอย่างเดียว) นอกจากนี้ยังพบว่าข้าวหมากที่ผ่านการจำลองการย่อยมีฤทธิ์การยับยั้งการหลั่ง IL-8 ดีกว่าข้าวหมากไม่ผ่านการย่อย และข้าวเหนียวดำสุก ตามลำดับ 

คำสำคัญ : ข้าวเหนียวดำ; ข้าวหมาก; การจำลองการย่อย; ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ; ภาวะเครียดจากออกซิเดชัน

 

Abstract

The aim of this study was to determine the contents of vitamin E, total polyphenols, total anthocyanins, gamma oryzanol, the antioxidant activity and the activity against oxidative stress in human intestinal cell line (Caco2-cell) of non-digested and in vitro digested Kao Mak. Kao Mak was prepared by fermenting cooked black glutinous rice (Oryza sativa L. variety Leum Phua) with Look Pang for 3 days. The results indicated that the in vitro digested Kao Mak contained higher vitamin E and total polyphenols than those of both non-digested one and cooked black glutinous rice, respectively. However, it was shown that non-digested Kao Mak had the highest amount of total anthocyanins while cooked black glutinous rice had the highest amount of gamma oryzanol. The antioxidant activities assayed using DPPH and FRAP methods showed that the in vitro digested Kao Mak exhibited higher antioxidant capacities than those of the non-digested one and the cooked black glutinous rice, respectively. The most interested of this study was shown that the extracts from all samples with H2O2 reduced the secretion of IL-8 by Caco2-cell when compared with positive control group (treated with H2O2 alone). In addition, it was found that in vitro digested Kao Mak had better inhibition on IL-8 secretion than that of both non-digested one and cooked black glutinous rice, respectively.    

Keywords: black glutinous rice; Kao Mak; in vitro digestion; antioxidant activity; oxidative stress

Article Details

Section
Biological Sciences