การตกตะกอนแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตจากน้ำเสียยางพาราที่ผ่านการผลิตก๊าซชีวภาพแล้ว

Main Article Content

พัทธนันท์ นาถพินิจ
ฐิติรัตน์ ดิษฐ์แก้ว
ทวี สัปปินันท์
ปวิตร์ สุธาวิยางกูร
ชุมพร จันทมาศ
สุภาวดี บัวบาน

Abstract

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการตกตะกอนเกลือแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตจากน้ำเสียยางพาราที่ผ่านการผลิตก๊าซชีวภาพแล้ว โดยในน้ำเสียมีปริมาณเฉลี่ยของแมกนีเซียมไอออน แอมโมเนียมไอออน ฟอสเฟตไอออน ของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด และระดับพีเอชที่ 100, 125, 217, 2,398 มก./ล.  และ 7.25 ตามลำดับ โดยระดับพีเอชที่ใช้ในการตกตะกอนอยู่ในช่วง 8.5-9.5 จากการทดลองพบว่าน้ำเสียยางพาราที่ผ่านการผลิตก๊าซชีวภาพแล้วสามารถนำมาตกตะกอนแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการบำบัดขั้นต้นด้วยการปรับสภาพให้เป็นกรด โดยอัตราส่วนโมลของแมกนีเซียมต่อแอมโมเนียมต่อฟอสเฟตในการตกตะกอนอยู่ที่ 1.3:1:1.3 และสามารถกำจัดแมกนีเซียมไอออน แอมโมเนียมไอออน และฟอสเฟตไอออนได้ที่ 47, 22 และ 86 % ตามลำดับ ซึ่งได้ตะกอนเกลือแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตที่มีสีขาวนวล ประมาณ 322 กรัมต่อ ลบ.ม. และเกลือแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตที่ได้มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (total N) และ ฟอสฟอรัส (P2O5) เป็น 5.1 และ 32.5 % โดยน้ำหนัก ตามลำดับ มีอัตราส่วน TN:P2O5 เป็น 1:6.4 ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืชดอกได้ และเกลือแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตมีความสามารถในการละลายเป็น 39.3 มก./ล. 

คำสำคัญ : แมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต; น้ำเสียยางพาราว; ปุ๋ยละลายช้า

 

Abstract

The objective of this investigation aims to possibility study of magnesium ammonium phosphate precipitation (MAP) from rubber wastewater after biogas production. The properties of rubber wastewater were Mg2+ 100 mg/l, NH4+ 125 mg/l, PO43- 217 mg/l, TDS 2,398 mg/l and pH 7.25 respectively. The studied conditions of MAP precipitation were pH at 8.5-9.5. The result showed that anaerobic rubber wastewater could precipitate MAP without a preliminary treatment with acid adjusting. The molar ratio of Mg:NH4:PO4 for precipitation was at 1.3:1:1.3 and the removal efficiency of Mg2+, NH4+ and PO43- were 47, 22 and 86 % respectively. In addition, the MAP could be produced which had yellowish white as 332 g/m3. The compositions of MAP were total N and P2O5 were 5.1 and 32.5 % by weight, respectively. The ratio of TN:P2O5 was as 1:6.4 which can be applied for flowering plants. The solubilization capacity of MAP was 39.3 mg/l.  

Keywords: MgNH4PO4; rubber wastewater; slow released fertilizer

Article Details

Section
Biological Sciences