การประเมินประสิทธิภาพการใช้งานแคปท์ช่ารูปอาหาร

Main Article Content

ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร
พรพิมล รามัญอุดม

Abstract

บทคัดย่อ

แคปท์ช่า (CAPTCHA) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการพิสูจน์ตัวตนว่าผู้ที่เข้ามาใช้งานต้องเป็นมนุษย์จริงไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ แคปท์ช่าแบบตัวอักษรได้ถูกนำมาใช้งานมากที่สุด แต่เนื่องจากลักษณะของตัวอักษรที่บิดเบี้ยวนั้นบางครั้งทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน ในงานวิจัยนี้จึงเสนอแคปท์ช่ารูปอาหาร (food-related picture CAPTCHA) ซึ่งเป็นแคปท์ช่าแบบรูปภาพ การออกแบบประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ประเภทภาพคำถาม (ภาพสีและภาพขาวดำ) และรูปแบบคำถาม (คำถาม ingredient และคำถาม food) โดยทดลองแบบ between-subject design กับผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 160 คน ประเมินผลประสิทธิภาพด้านการใช้งานจากคะแนนความถูกต้อง เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบ และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน โดยนำแคปท์ช่ารูปอาหารมาทดลองเปรียบเทียบกับ Asirra CAPTCHA (แคปท์ช่าแบบรูปภาพของ Microsoft ที่ใช้ภาพหมากับแมว) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแคปท์ช่ารูปอาหารใช้เวลาในการเข้าสู่ระบบน้อยกว่า Asirra CAPTCHA และมีคะแนนความถูกต้องและความพึงพอใจมากกว่าด้วย 

คำสำคัญ : แคปท์ช่า; ประเภทภาพคำถาม; รูปแบบคำถาม

 

Abstract

CAPTCHA (completely automated public, turing test to tell computers and humans apart) is an automated test to ensure that the user is a human, not computer programs. It can help to protect against automated bots from abusing online services. Most of CAPTCHAs deployed are text-based. The more distorted text-based CAPTHCAs are to increase security. However, their distorted and complicated characters could also make it difficult for human to decode. This research proposed a new image-based CAPTCHA, called Food-Related Picture CAPTCHA. There were two factors considered in the design. One was the image type (color images and black-white images) and the other was the question type (ingredient questions and food questions). The between-subject design experiment was run with 160 participants. The proposed CAPTCHA was evaluated in terms of usability (accuracy, response time and user satisfaction) and, compared to the usability of Asirra CAPTCHA, which is based on dog-cat images. The result also showed that the food-related picture CAPTCHA had better accuracy, lower response time and higher satisfaction than the Asirra CAPTCHA.    

Keywords: CAPTCHA; the image type; the question type

Article Details

Section
Engineering and Architecture