น้ำมันหอมระเหยจากเกสรบัวหลวงราชินี

Main Article Content

บุษราคัม สิงห์ชัย
นิศา ตระกูลภักดี
สาวิตรี ทองลิ้ม

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่แตกต่างกันและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากเกสรบัวหลวงราชินี และเพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของน้ำมันหอมระเหยจากเกสรบัวหลวงราชินี โดยเก็บเกสรบัวหลวงที่วัดเขาบันไดอิฐ ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2558 และสกัดน้ำมันหอมระเหย 3 วิธี ได้แก่ การสกัดด้วยตัวทำละลาย การสกัดด้วยไขเย็น และการสกัดด้วยไขร้อน การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้ด้วยเครื่อง GC-MS: Electron, Ionization Acquisition mode; Scan 30-500 amu และเปรียบข้อมูล EI-MS ที่ได้ใน NIST library และศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH โดยมีวิตามินซีเป็นสารควบคุม ผลการวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหยที่สกัดด้วยตัวทำละลายจะมีสีน้ำตาลเข้มและเป็นของเหลวหนืด ส่วนการสกัดด้วยไขแพะทั้งสองวิธีเป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อน และน้ำมันหอมระเหยทั้งหมดมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันเป็นส่วนใหญ่โดยไม่มีองค์ประกอบเคมีใดเหมือนกันในน้ำมันหอมระเหยทั้ง 3 วิธี และที่เหมือนกันของน้ำมันหอมระเหยที่สกัดด้วยตัวทำละลายและไขเย็น ได้แก่ สาร 2,3-dihydro-3,5-dihydroxy-6-methylpyran-4-one และ lidocain ในปริมาณที่แตกต่างกัน ส่วนน้ำมันหอมระเหยที่สกัดด้วยตัวทำละลายและไขร้อนพบเฉพาะสาร ethyl palmitate โดยมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน และน้ำมันหอมระเหยที่สกัดด้วยตัวทำละลายแสดงค่าการต้านออกซิเดชันด้วยค่า IC50±SD เท่ากับ 31.00±0.94 µg/ml ส่วนน้ำมันหอมระเหยที่เหลือไม่แสดงค่าการต้านออกซิเดชันที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 125.00 µg/ml และวิตามินซีแสดงค่าการต้านออกซิเดชันด้วยค่า IC50±SD เท่ากับ 0.75±0.22 µg/ml 

คำสำคัญ : บัวหลวงราชินี; น้ำมันหอมระเหย; ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน

 

Abstract

This research aims to study chemical constituents of essential oils from N. nucifera stamens and their antioxidant activity. The stamen samples were harvested at Khao Bundai It temple, Raisom sub-distric, Muang distric, Phetchaburi province, from Jun-July 2015. The extractions of essential oil were 3 methods, including, ethanol extraction, enfleurage and maceration. The study of chemical constituents was used GC-MS: Electron, Ionization Acquisition mode; Scan in range 30-500 amu and comparing the EI-MS data with NIST library. The evaluation of antioxidant activity was used DPPH assay and vitamin C was as control. The results of this research were following; the essential oils extracted by solvent was dark brown liquid, but the another essential oils using fat extraction method were bright yellow oil.  The three essential oils had different chemical constituents. The same chemicals in both essential oils by extracting solvent extraction and enfleurage method were 2,3-dihydro-3,5-dihydroxy-6-methylpyran-4-one and lidocain. However, the same chemical in both essential oils by ethanol extraction and maceration method was ethyl palmitate. The antioxidant activities of essential oil extracting by sol-vent extraction showed IC50±SD as 31.00±0.94 µg/ml, but the other essential oils had no antioxidant activity at final concentration of 125.00 µg/ml. The positive control, vitamin C had IC50 of 0.75±0.22 µg/ml. 

Keywords: N. nuclfera; essential oil; antioxidation

Article Details

Section
Biological Sciences