การชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์จากเนื้อเยื่อมันเทศประดับด้วยสารละลายโคลชิซีนชนิดเม็ดในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

นุชรัฐ บาลลา
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์
ธีระชัย ธนานันต์

Abstract

บทคัดย่อ

ปัจจุบันความนิยมใช้ไม้ตัดดอก ไม้ดอกกระถาง และไม้ตัดใบมีเพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถให้ความสวยงามแก่สถานที่ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และส่งผลให้เกิดความเย็นแก่สถานที่ปลูกอีกด้วย มันเทศประดับเป็นพืชอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) มีใบรูปทรงต่าง ๆ มากมาย และสีสันที่สวยงามสะดุดตา แตกต่างจากมันเทศทั่วไปที่มีสีเขียวเพียงอย่างเดียว โดยจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาผลของสารโคลชิซีนที่ทำให้มันเทศประดับในสภาพปลอดเชื้อเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับพลอยดี โดยนำตาข้างของมันเทศประดับพันธุ์ใบหยัก (MTL) และใบหยักลึก (MTDL) มาฟอกฆ่าเชื้อและเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และสับแยกเนื้อเยื่อ แล้วแช่ตาข้างในอาหารเหลวสูตร MS ที่เติมสารละลายโคลชิซีนเข้มข้น 2.5, 5 และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นระยะเวลา 1, 2 และ 3 วัน ตามลำดับ พบว่าระยะเวลาและความเข้มข้นที่ใช้แช่โคลชิซีนมีผลต่อการเกิดโพลีพลอยด์ (polyploid) หลังจากนั้นจึงย้ายตัวอย่างลงอาหารแข็งสูตร MS เมื่อเพาะเลี้ยง 30 วัน นำไปทดสอบความเป็นโพลีพลอยด้วยยวิธี flow cytometry ผลการทดลองพบว่ามันเทศประดับ MTL ที่แช่โคลชิซีนความเข้ม 2.5 มิลลิรัมต่อลิตร เป็นระยะเวลา 2 วัน และ MTDL ที่โคลชิซีนระดับความเข้ม 5 มิลลิรัมต่อลิตร เป็นระยะเวลา 2 วัน สามารถชักนำให้เกิด mixoploid

คำสำคัญ : มันเทศประดับ; วงศ์ผักบุ้ง; โคลชิซีน; โพลีพลอยด์

 

Abstract

The flowering plant is famous at present, these plants made magnificent place. The ornamental sweet potato is in Convolvulaceae family. It different sweet potato, has shape and beautiful color. The objective was to study the effect of colchicine for polyploid on ornamental sweet potato in vitro. In this experiment, the axillary buds of ornamental sweet potatoes, lobe leaf (MTL) and deep lobe leaf (MTDL) cultivars, were used for explants in clean culture. After 8 weeks of culturing on MS medium. The explants were treated in MS broth medium supplemented with colchicine 2.5, 5 and 10 mg/L at 1, 2 and 3 days, respectively. After that, transfer explant to MS medium and cultured for 30 days. The culture would be screened the polyploid with flow cytometry. The results revealed that the MTL which was treated 2.5 mg/L colchicine for 2 days and MTDL which was treated 5 mg/L for 2 days were mixoploid. 

Keywords: ornamental sweet potato; Convolvulaceae; colchicine; polyploid

Article Details

Section
Biological Sciences