ผลกระทบของการอาบสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กคงที่ต่ออัตราการงอกและการเจริญเติบโตของข้าวเจ้าแดง (Oryza sativa L.) จาก สปป. ลาว

Main Article Content

คำหล้า แสงรัศมี
ทวี ฉิมอ้อย
มนู เฟื่องฟุ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กคงที่ต่ออัตราการงอกและการเจริญเติบโตของต้นข้าวจ้าวแดงจาก สปป. ลาว โดยศึกษาเพื่อหาค่าความเข้มของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการอาบเมล็ดข้าว โดยนำเอาเมล็ดข้าวตัวอย่างไปอาบในสนามไฟฟ้าที่ 0.5, 1 และ 5 kV/m ในเวลา 1, 5, 10, 20 และ 30 นาที ตามลำดับ และความเข้มสนามแม่เหล็กที่ 10, 20 และ 40 mT ในเวลา 5, 10, 20, 30, 40, 50, 60, 70 และ 80 นาที ตามลำดับ การคำนวนหาตัวชี้วัดประสิทธิภาพของการงอกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว ได้แก่ ดัชนีการงอก ร้อยละการงอกสุดท้าย การเจริญเติบโตของต้นข้าว และดัชนีความแข็งแรง พบว่าสำหรับสนามไฟฟ้าได้เวลาอาบและค่าความเข้มที่เหมาะสม คือ 10 นาที และ 1 kV/m ซึ่งทำให้เมล็ดข้าวมีดัชนีการงอก ร้อยละการงอกสุดท้าย การเจริญเติบโต และดัชนีความแข็งแรงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นถึง 6±2, 8±1, 20±3 และ 25±3 % ตามลำดับ สำหรับสนามแม่เหล็กได้เวลาอาบและค่าความเข้มที่เหมาะสม คือ 60 นาที และ 20 mT ซึ่งทำให้เมล็ดข้าวมีดัชนีการงอก ร้อยละการงอกสุดท้าย การเจริญเติบโตและดัชนีความแข็งแรง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นถึง 8±4, 8±5, 13±6 และ 22±5 % ตามลำดับ

คำสำคัญ : สนามไฟฟ้า; ข้าวเจ้าแดง; ดัชนีการงอก; ร้อยละการงอกสุดท้าย; การเจริญเติบโตของต้นข้าว; ดัชนีความแข็งแรง

 

Abstract

This research aims to study the effect of static electric and magnetic field’s effects on germination rate and seedling growth of Kao Jao Deng from Lao PDR. Including the study of the intensity of the electric and magnetic field and the appropriate time to exposure the rice seeds. The sample rice seeds were subjected to the electric field at 0.5, 1 and 5 kV/m and exposure time 1, 5, 10, 20 and 30 minutes, respectively. And magnetic field at 10, 20 and 40 mT and exposure time 5, 10, 20, 30, 40, 50, 60, 70 and 80 minutes, respectively. The efficiency Indicator calculation of the germination and growth of the rice seeds such as final germination percentage, seedling growth, germination index and vigor index. The results shown that for the electric field exposure to 10 minutes of 1 kV/m compared with the control, the germination index, final germination percentage, seedling growth, and vigor index increased by 6±2, 8±1, 20±3 and 25±3 %, respectively. For the magnetic field exposure to 60 minutes of 20 mT compared with the control, the germination index, final germination percentage, seedling growth and vigor index increased by 8±4, 8±5, 13±6 and 22±5 %, respectively. 

Keywords: electric field; Kao Jao Deng; germination index; final germination percentage; seedling growth; vigor index

Article Details

Section
Biological Sciences