การจำแนกบริษัทจดทะเบียนที่มีความมั่นคงทางการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค

Main Article Content

ประสพชัย พสุนนท์
ปราณี นิลกรณ์
กฤษณา ตาลเชื้อ

Abstract

       การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคจำแนกบริษัทจดทะเบียนที่มีความมั่นคงทาง การเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลงบการเงิน 3 ปี คือ ปี 2549 – 2551 จำนวน 238  บริษัท สำหรับ เกณฑ์พิจารณาบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงิน คือ บริษัทที่มีผลกำไรต่อเนื่องกัน 3 ปี จำนวน 213 บริษัท ส่วนบริษัทที่ ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน คือ บริษัทที่ขาดทุนต่อเนื่องกัน 3 ปี จำนวน 25 บริษัท ในการสร้างตัวแบบการถดถอย โลจิสติคเพื่อพยากรณ์ความมั่นคงทางการเงินใช้ตัวแปรอัตราส่วนทางการเงิน 5 ตัวแปร คือ 1) อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ต่อสินทรัพย์รวม 2) อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน 3) อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง 4) อัตราส่วนหนี้สินหมุนเวียนต่อ ยอดรวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น และ 5) อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อยอดรวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นเป็น ตัวแปรพยากรณ์ โดยตัดค่าผิดปกติเชิงพหุที่พิจารณาจากระยะทางมหาลาโนบิสกำลังสองก่อนทำการสร้างตัวแบบ ซึ่ง ตรวจพบค่าผิดปกติเชิงพหุในปี 2549 – 2551 จำนวน 8 , 9 และ 6 ค่า ตามลำดับ สำหรับผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
        1. ตัวแบบความมั่นคงทางการเงินของปี 2549 สามารถพยากรณ์ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทได้ถูกต้องร้อยละ 90.87 , 91.34 และ 91.74 เมื่อนำไปทดสอบกับข้อมูลในปี 2549 – 2551 ตามลำดับ 
        2. ตัวแบบความมั่นคงทางการเงินของปี 2550 สามารถพยากรณ์ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทได้ถูกต้องร้อยละ 92.14 และ 90.83 เมื่อนำไปทดสอบกับข้อมูลในปี 2550 – 2551 ตามลำดับ
        3. ตัวแบบความมั่นคงทางการเงินของปี 2551 มีความถูกต้องในการพยากรณ์ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทใน ปี 2551 ร้อยละ 90.52 

       The objective of this research is to use logistic regression analysis to classify    listed companies in the Stock Exchange of Thailand for their financial stability.   The data consisted of financial ratios based on the financial statements of the years 2006-2008 of totally 238 companies, of which 213 are financially stable and 25 are financially unstable.  Listed Companies that are profitable consecutively for 3 years are considered as financially stable and listed companies that are loss consecutively for 3 years are regarded as financially unstable.  In developing a model to predict a company’s financial stability, the following financial ratios are used as   explanatory   variables: 1) net working capital to total assets 2) current ratio 3) acid test ratio 4) current liabilities to total debt and equity   5) long term debt to total debt and equity. Mahalanobis distance is used to detect outlying observations.  It is found that  8,  9  and 6  observations of  the year  2006, 2007 and 2008 , respectively,  appearing  to be outliers and  thus  were   removed  from the analysis.  The research results are as follow: 
           1. The logistic regression model based on the data of the year 2006  can classify the  companies’   financial stability  of  the year 2006,  2007 and 2008  correctly  90.87,  91.34  and  91.74  percent  respectively.
          2. The logistic regression model based on the data of the year 2007 can classify the companies’ financial stability of the year 2007 and 2008 correctly 92.14 and 90.83 percent respectively.
         3. The logistic regression model based on the data of the year 2008 can classify the company financial stability of the year 2008 correctly 90.5 percent.  

Article Details

Section
Research Articles