มิติเชิงประชาสังคมขององค์กรทางศาสตร์ในการช่วยเหลือผู้อพยพ

Authors

  • ศุภกานต์ แก้วภิรา นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

ภาคประชาสังคม, รูปแบบขององค์กรทางศาสนาในการช่วยเหลือผู้อพยพ, การช่วยเหลือผู้อพยพ

Abstract

          ปัจจุบันมีผู้อพยพย้ายถิ่นอาศัยอยู่ภายในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก องค์กรพัฒนาเอกชนของพระศาสนจักรคาทอลิกถือเป็นองค์กรหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ ให้การสงเคราะห์ และบริการงานด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสังคม ในการศึกษามิติเชิงประชาสังคมขององค์กรทางศาสนาในการช่วยเหลือผู้อพยพภายในประเทศไทย มีกรณีศึกษา คือ ศูนย์คาทอลิกนักบุญอันนาเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น ศูนย์มาริสต์เพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น และศูนย์คาทอลิกนักบุญยออากิมเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น
          ในบทความนี้ จะมุ่งอธิบายผลการวิจัยในประเด็นของอุดมการณ์ในการจัดสร้างและการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในรูปแบบเชิงประชาสังคม และรูปแบบการจัดกิจกรรมเชิง ประชาสังคมต่อผู้อพยพภายในศูนย์ฯ ผ่านวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) เพื่อนำมาสู่การพัฒนาหรือการสนับสนุนกิจกรรมภาคประชาสังคมในการช่วยเหลือผู้อพยพต่อไป
          อุดมการณ์ในการจัดตั้งแต่ละศูนย์เกิดจากการที่ต้องการจะจัดกิจกรรมเชิงประชาสังคมขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้อพยพที่อยู่บริเวณ จ. สมุครสาคร ในการทำงานด้านประชาสังคมของแต่ะบุคคลจะมีอุดมการณ์หลักในการทำงานที่คล้ายคลึงกัน คือ มุ่งหมายที่จะช่วยเหลือคนด้อยโอกาส เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมในอนาคตให้เข้มแข็งขึ้น ซึ่งหลักคำสอนทางศาสนาถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการกล่อมเกลาจิตใจให้ผู้คนเข้ามาทำงานเชิงประชาสังคม การทำงานภายในองค์กรเพื่อทำกิจกรรมเชิงประชาสังคมนั้น จะเป็นการประสานความร่วมมือกันของหลายบุคคล และหลายภาคส่วนเข้าด้วยกัน ผ่านการปลูกฝังด้านความคิดจากกระบวนการขัดเกลาทางศาสนา และในส่วนของการจัดกิจกรรมภายในศูนย์ต่าง ๆ นั้น จะแบ่งออกเป็น 5 กิจกรรมด้วยกัน คือ การจัดการเรียนการสอนเด็ก การจัดกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากการเรียนของเด็ก การจัดการเรียนการสอนผู้ใหญ่ การจัดตรวจสุขภาพประจำปี และการจัดกิจกรรมตามวันสำคัญต่าง ๆ

Downloads

Published

2018-12-19

Issue

Section

บทความวิจัย