รัฐสุลต่าน อาหรับสปริง การพัฒนาประชาธิปไตยในอียิปต์

Authors

  • ชัชฎา กำลังแพทย์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

รัฐสุลต่าน, อาหรับสปริง, การพัฒนาประชาธิปไตย

Abstract

ปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางช่วงปี ค.ศ. 2011 เป็นปรากฎการณ์ที่ได้รับความสนใจศึกษาอย่างแพร่หลายในเรื่องกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย บทความชิ้นนี้ต้องการจะอภิปรายถึงการพัฒนาประชาธิปไตยในอียิปต์ภายหลังการเกิดเหตุการณ์อาหรับสปริง ซึ่งดูเหมือนว่าจะสามารถนำพาประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยได้ในระยะหนึ่ง แต่ทว่าระบอบประชาธิปไตยในอียิปต์กลับไม่สามารถตั้งมั่นอยู่ได้ จนทำให้ระบอบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหวนกลับมาอีกครั้ง โดยผู้เขียนจะใช้ทฤษฎีรัฐสุลต่าน หรือระบอบสุลต่าน (Sultanism) มาใช้ในการทำความเข้าใจระบอบการเมืองของอียิปต์ก่อนเหตุการณ์อาหรับสปริง และตอบคำถามหลักของบทความชิ้นนี้ว่าเมื่อถูกโค่นลงไปแล้วระบอบการเมืองแบบ “รัฐสุลต่าน” เป็นอย่างไร และการพัฒนาประชาธิปไตยนั้นมีแนวโน้มอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์การโต้กลับของระบอบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในอียิปต์ ผลการศึกษาพบว่าการโค่นผู้นำเผด็จการที่มีลักษณะรวมศูนย์ที่บุคคลนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากชนชั้นนำ กลุ่มทางสังคมอื่น ๆ นอกจากการลุกฮือของประชาชน และการเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการแบบหนึ่งนั้นอาจไม่นำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเสมอไปแต่อาจนำไปสู่ระบอบเผด็จการแบบอื่นก็เป็นได้

Downloads

Published

2018-12-19

Issue

Section

บทความวิจัย