การครองโสดของผู้หญิงในยุคโลกาภิวัตน์กับเศรษฐกิจในเมืองไทย

Authors

  • ทิพวรรณ ศิริสัมพันธ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สิริรัฐ หนูสี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ณัฐชนัน ฐิติพันธ์รังสฤต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

การครองโสด, ผู้หญิงในยุคโลกาภิวัตน์, ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

Abstract

ผู้หญิงในยุคสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษา จะมีอิสระทางความคิด สามารถตัดสินใจและเลือกทางเดินของตนเองได้ในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือเรื่องการเลือกคู่ครองและการแต่งงาน ผู้หญิงนิยมเลือกที่จะครองโสด และเลื่อนอายุการแต่งงานให้ช้าลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูแล้วมีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง แต่กลับส่งผลกระทบอย่างมากต่อสังคม และสังคมก็ส่งผลต่อความคิดของผู้หญิงเช่นเดียวกัน แม้แต่การครองโสดก็เลือกที่จะมองผ่านสภาพสังคมปัจจุบันที่ให้ค่ากับมิติทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ จึงเป็นที่มาของการศึกษาปัจจัยการตัดสินใจครองโสดของผู้หญิงไทยในปัจจุบันกับการปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการครองโสด                                                         

การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลและงานเขียนทางวิชาการที่กล่าวถึงเรื่องการครองโสดของผู้หญิงไทย และใช้ข้อมูลทางประชากรจาก บทความวิชาการ งานเขียนและข้อมูลสถิติจากกรมการปกครอง มาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับมิติทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อการครองโสด เพื่อตรวจสอบถึงปัจจัยเศรษฐกิจในสภาพสังคมปัจจุบันที่ส่งผลต่อการครองโสดของผู้หญิงในยุคโลกาภิวัตน์                                               

ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่อแรงงาน ฐานะทางเศรษฐกิจ มีผลต่อหน้าที่การงาน สถานะทางสังคม ระดับการศึกษา และความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางสังคม รวมทั้งการวางแผนเกี่ยวกับการแต่งงานและมีบุตร ซึ่งทำให้การตัดสินใจครองโสดของผู้หญิงไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางต่าง ๆ อย่างเช่น ผู้หญิงโสดที่มีการศึกษาสูง มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี มีตำแหน่งหน้าที่การงานในระดับสูงก็จะยิ่งตัดสินใจเลือกที่จะครองตัวเป็นโสดมากกว่าที่จะรีบแต่งงานมีครอบครัว หรืออย่างน้อยก็เลือกที่จะเลื่อนอายุการแต่งงานออกไปก่อนจนกว่าจะทำเป้าหมายและความปรารถนาอย่างอื่นของตนให้สำเร็จ ในขณะที่ผู้หญิงโสดที่มีฐานะปานกลางจะรอมีความพร้อมทางการเงินและมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงก่อนที่จะแต่งงาน

Downloads

Published

2019-12-26

Issue

Section

บทความวิจัย