การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของคนไร้สัญชาติในสังคมไทย

Authors

  • อินทราณี ศรีบุญเรือง นักวิจัยอิสระ
  • อัครนัย ขวัญอยู่ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

เทคโนโลยี, การเข้าถึงเทคโนโลยี, คนไร้สัญชาติ

Abstract

การศึกษาการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของคนไร้สัญชาติในสังคมไทย เป็นการศึกษาที่มีมูลเหตุมาจากสถานการณ์ทางสังคมไทยอันปรากฏความไม่เท่าเทียม สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำ และความยากจน ถูกซ่อนเร้นอยู่ในมุมหนึ่งของสังคมในขณะที่มีการพัฒนาประเทศที่ก้าวหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาสังคมดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อำนวยความสะดวกสำหรับกลุ่มคนไร้สัญชาติ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับการศึกษากลุ่มคนไร้สัญชาติโดยตรง
จากผลการศึกษา พบว่า คนไร้สัญชาติมีการใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ประมาณร้อยละ 21.1 ในขณะที่ส่วนใหญ่จะใช้งานโทรศัพท์มือถือแบบฟีเจอร์โฟน ร้อยละ 78.9 และไม่พบว่ามีการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ มีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อติดต่อกับบุคคลในครอบครัว หรือญาติ เป็นอันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่ไม่มีการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีเพียงร้อยละ 7.0 เท่านั้นที่ใช้งาน โดยผู้ที่ใช้งานส่วนมากมีรูปแบบการชำระค่าบริการแบบซื้อชั่วโมงการใช้งานมากกว่าเหมาจ่ายรายเดือน ซึ่งค่าบริการในการใช้งานเครือข่ายอยู่ต่ำกว่า 300 บาทต่อเดือน หรือเฉลี่ยประมาณ 130.00 บาทต่อเดือน โดยผู้ใช้งานเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง ไม่พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างรายใดในกลุ่มนี้ที่ใช้บริการเน็ตประชารัฐ และในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ใช้งานส่วนใหญ่ ให้เหตุผลว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป และไม่มีความรู้ในการใช้งาน ฉะนั้นแล้วภาครัฐควรมีการผลิตโทรศัพท์มือถือให้มีราคาถูกลง หรือมีศูนย์บริการกลางให้สามารถหยิบยืม หรือเข้ามาใช้งานสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพอินเทอร์เน็ตประชารัฐให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสามารถใช้งานได้จริง เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตลงได้

Downloads

Published

2019-04-22

Issue

Section

บทความวิจัย