สังคมสูงวัยกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

Authors

  • กนกวรรณ อบเชย นักวิจัยอิสระ
  • รุ่งกมล โพธิสมบัติ นักวิจัยอิสระ

Keywords:

สังคมผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

Abstract

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้จากการรวบรวมเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยการยกร่างแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นส่วนใหญ่มีการครอบครองโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนในสัดส่วนที่มากกว่าโทรศัพท์มือถือแบบฟีเจอร์โฟน ซึ่งส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในแง่ของการใช้งาน ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุตอนกลางส่วนใหญ่มีการครอบครอง โทรศัพท์มือถือแบบฟีเจอร์โฟน ในสัดส่วนที่มากกว่าโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการใช้งาน และกลุ่มผู้สูงอายุตอนปลายส่วนใหญ่มีการครอบครองโทรศัพท์มือถือแบบฟีเจอร์โฟน ในสัดส่วนที่มาก กว่าโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ทั้งนี้มีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้นที่มีการใช้งานสมาร์ทโฟนอยู่ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการใช้งาน นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างแต่ละช่วงวัยมีความสนใจในประเด็นการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น (60–69 ปี) สนใจการค้าขายออนไลน์ และการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย    ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุตอนกลาง (70–79 ปี) สนใจการใช้ ICT พื้นฐาน และเนื้อหาเกี่ยวกับความเข้าใจดิจิทัล ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุตอนปลาย (80 ปีขึ้นไป) ไม่มีความสนใจใดมากเป็นพิเศษ และมีเพียงเล็กน้อยที่สนใจการพัฒนาเว็บไซต์ ชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ต้องการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากไม่เห็นความสำคัญและคิดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาควรเริ่มจากการจัดอบรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือเบื้องต้นหรือการจัดทำคู่มือการใช้งานอย่างง่ายและชัดเจน

Downloads

Published

2019-04-22

Issue

Section

บทความวิจัย