About the Journal

ประวัติการจัดตั้งวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

          วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ เริ่มมีการรวบรวมบทความวิชาการ ผลการศึกษาวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเน้นการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยด้านสาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพ การบริหารงานสาธารณสุข วิทยาการระบาด พยาบาล อนามัยชุมชน และโภชนาศาสตร์ และดำเนินการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2555 การตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 

วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผ่านการพิจารณาคุณภาพวารสารเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI  กลุ่มที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2561

          โดยมี   รศ.ดร.นพรัตน์ ส่งเสริม เป็นบรรณาธิการ

ขอบเขต

  • เป็นวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเน้นการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยด้านสาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพ การบริหารงานสาธารณสุข วิทยาการระบาด พยาบาล อนามัยชุมชน และโภชนาศาสตร์

วาระการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ

           ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน  ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม

Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)

บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)

Types of articles (ประเภทของบทความ)

1. นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)หมายถึง รายงานผลการศึกษา ค้นคว้า หรือการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านสาธารณสุข ครอบคลุมประเด็นวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ ระบาดวิทยาและชีวสถิติ โภชนาการและการบริหารงานสาธารณสุข  ความยาวไม่ควรเกิน 10 หน้ากระดาษ A4

2. บทความปริทัศน์  (Review  article)  หมายถึง  บทความที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ จากวารสารหรือหนังสือต่างๆทั้งภายในและต่างประเทศ  ครอบคลุมประเด็นวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม  อาชีวอนามัยและความปลอดภัย  สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ  ระบาดวิทยาและชีวสถิติ  โภชนาการและการบริหารงานสาธารณสุข  โดยนำเสนอเป็นองค์ความรู้ใหม่เชิงสังเคราะห์  พร้อมมีการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้เขียนเพิ่มเติมด้วย  ความยาวไม่ควรเกิน 5 หน้ากระดาษ A4

3. บทความพิเศษ  (Special article)หมายถึง บทความที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ ครอบคลุมประเด็นวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย  สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ  ระบาดวิทยาและชีวสถิติ  โภชนาการและการบริหารงานสาธารณสุข โดยเป็นทัศนะของผู้เขียนและเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและอยู่ในความสนใจของสาธารณชนทั่วไปเป็นพิเศษ  ความยาวไม่ควรเกิน 5 หน้ากระดาษ A4

4. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เขียนและเรียบเรียงบทความวิจัยให้ถูกต้อง และต้องมีการอ้างอิงผลงานอย่างถูกต้อง และจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ ตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ใน "คำแนะนำสำหรับผู้พนธ์" รวมทั้งผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง นอกจากนี้ ในกรณีงานวิจัยที่ดำเนินการในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ต้องแนบเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลองที่เป็นไฟล์ PDF หรือไฟล์ Scan มาพร้อมกับต้นฉบับ

Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)

  • ภาษาอังกฤษ
  • ภาษาไทย

Publisher (เจ้าของวารสาร)

  • คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

  • Website: https://phn.ubru.ac.th