ความรุนแรงของโรค พฤติกรรมการดูแลตนเองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐนวียา จิตต์จันทร์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • นพรัตน์ ส่งเสริม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • เผ่าไทย วงศ์เหลา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความรุนแรง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 2) ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 3) หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เข้ามารับการตรวจรักษาที่แผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยตรวจดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2559 จำนวน 167,382 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากสูตรคำนวณขนาดตัวอย่างโดยการประมาณค่าสัดส่วนของประชากร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านชีวสังคม ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ปัจจัยการรับรู้ของบุคคล และปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการดูแลตนเอง และส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม โดยมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.64 ถึง 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในด้านอาการเจ็บปวดข้อเข่า ผู้ป่วยมีปัญหาปวดข้อเข่าเมื่อเดินขึ้น-ลงบันได การยืนลงน้ำหนักตัว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวในแนวดิ่งที่มีผลต่อข้อเข่า 2) พฤติกรรมการดูแลตนเอง พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่โรคไม่รุนแรง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองระดับปานกลางทั้งหมด ส่วนกลุ่มที่โรครุนแรง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองระดับ ปานกลางและระดับดี และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสูบบุหรี่ อาชีพ การศึกษา และพฤติกรรมการดูแลตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วยวัยกลางคนและสูงอายุอาจทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพ ส่งผลเสียต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ อาชีพ การศึกษา และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงของโรค ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข

References

ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์. (2552). ปวดข้อ-ข้อเสื่อมและการประยุกต์กระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: เอ็นพี เพรส.

ทวีพร เตชะรัตนมณี. (2547). ความสามารถในการดูแลตนเอง การดูแลตนเอง และรับรู้สุขภาวะของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สงขลา.

โรงพยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี. (2554). รายงานประจำปี 2554 โรงพยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี 2554. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี.

วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ และคณะ. (2550). ออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.

แววดาว ทวีชัย. (2543). พฤติกรรมการดูแลตนเองและความรุนแรงของโรคข้อเข่า เสื่อมในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สกาวรัตน์ ศุภสาร. (2550). การดูแลตนเองของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1(1): 72-86.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2548). ปวดเข่า (โรคข้อเข่าเสื่อม). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2551). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2: 350 โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์. (2551). โรคข้อเสื่อม. ใน กิตติ โตเต็มโชคชัยการ และคณะ(บรรณาธิการ), Rheumatology for the Non-Rheumatologist (หน้า 175-202). กรุงเทพฯ: ซิตี้พริ้นท์การพิมพ์.

สุวิศิษฏ์ เชี่ยวธนะกุล และสมชาย อรรฆศิลป์. (2544). COX-2 NSAID. วารสารโรคข้อและรูมาติสซึ่ม.12(3): 85-121.

อารดา ธีระเกียรติกำจร. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Blixen, C. E., & Kippes, C. (2009). Depression, social support, and quality of life in older adults with osteoarthritis. Journal of Nursing Scholarship. 31: 221-226.

Felson, D. T., Lawrence, R. C., Dieppe, P. A., Hirsch, R., Helmick, C. G., Jordan, J. M., et al. (2000). Osteoarthritis: New Insights Part 1: The Disease and Its Risk Factors. Annals of Internal Medicine. 133: 635-646.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01