รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • สำราญ อุตสาหะ ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สภาพของการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21, รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21, สมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ (Mixed Methods Research) ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ตัวอย่าง จำนวน 9 คน เป็นศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และครูผู้นิเทศก์ จำนวน 3 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่าง จำนวน 399 คน เป็นศึกษานิเทศก์ จำนวน 22 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 198 คนและครูผู้นิเทศก์ จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ด้านกระบวนการพัฒนา มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และกิจกรรมสำคัญที่ส่งเสริมให้การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ PLC (Professional learning Community: PLC) 2) ด้านเนื้อหาการพัฒนา คะแนนเฉลี่ยการมีคุณลักษณะเฉพาะของผู้นิเทศก์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และแรงขับภายในที่ต้องการจะช่วยเหลือกัน เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการมีคุณลักษณะเฉพาะของผู้นิเทศก์ที่สำคัญ คะแนนเฉลี่ยการมีความรู้ด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมของศึกษานิเทศก์และผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนครูผู้นิเทศก์คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการนิเทศการสอนในศตวรรษที่ 21 ทำให้ครูสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการนิเทศการสอนได้ดียิ่งขึ้น คะแนนเฉลี่ยการมีทักษะด้านการนิเทศ โดยภาพรวมของศึกษานิเทศก์และผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนครูผู้นิเทศคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเทคนิคการสังเกตการสอนในชั้นเรียน อย่างต่อเนื่องจะทำให้ครูเกิดความมั่นใจ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21 โดยการตรวจสอบความเที่ยงตรง และประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการพัฒนามีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา สามรถพัฒนาได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการพัฒนา และ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนา โดยการทดลองกลุ่มเดียวประเภทการทดลองแบบสลับกลับ (Reversal design หรือ A-B-A-B Design) ตัวอย่าง เป็นครูจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21 แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์แบบตรวจสอบความเที่ยงตรง แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกต แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ครูผู้นิเทศก์มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการสอนในศตวรรษที่ 2 หลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบพัฒนามีสมรรถนะในการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของครูในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมากที่สุด

References

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพ
นักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการนิเทศ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์, การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2557.
ยุพิน ยืนยง. การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลาหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัย
ในชั้นเรียนของครูเขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณทล. กรุงเทพฯ วิทยานิพนธ์ปริญญา
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาศิลปากร,2553.
วชิรา เครือคำอ้าย. การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา.
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตร
และการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.
สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์ .การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต.สาขาบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2551
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2.รายงานผลการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาประจำปีการศึกษา 2555 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 เอกสารลำดับที่ 9/2556. ศรีสะเกษ : กลุ่มนิเทศ
ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ศรีสะเกษ เขต 2
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา .สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2555.
กรุงเทพ ฯ : 2555.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.
อดุลย์ วงศ์ก้อม. รูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. ภาควิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปกร, 2552
Eisner, E. (1976) “Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Functions in Education Evaluation”Joumal of Aesthetic Education.1976, pp.192-193

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05