รูปแบบการใช้วัฒนธรรมองค์กร เพื่อการพัฒนาการบริหารงานวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • Chavadol Singkhampong มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โฆสิต แพงสร้อย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ประสาน กำจรเมนุกูล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร, การบริหารงานวัฒนธรรม, การพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาการบริหารงานวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของวัฒนธรรมองค์กรในการบริหารงานวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อศึกษารูปแบบการใช้วัฒนธรรมองค์กร เพื่อการพัฒนาการบริหารงานวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการศึกษาข้อมูลเอกสารและการเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสำรวจ (Basic Survey) การสังเกต (Observation) การสัมภาษณ์ (Interview Guide) และการสนทนากลุ่ม (Focused Group Discussion) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ (Key Informants) จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ (Casual Informants) จำนวน 60 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป (General Informants) จำนวน 10 คน นำข้อมูลที่ได้มาจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามประเด็นการศึกษาและทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาการบริหารงานวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บุคคลที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ คือ วัฒนธรรมจังหวัด ผู้ปฏิบัติงาน และเครือข่ายวัฒนธรรม รวมถึงประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมทุกคนในพื้นที่ โดยขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมผ่านรูปแบบการใช้วัฒนธรรมองค์กรทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสัญลักษณ์ เน้นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและโดดเด่นของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ทั้งชุดการแต่งกายของบุคลากร และจัดตกแต่งภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้น่าอยู่ น่าทำงาน โดยควรคำนึงถึงการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตกับงาน (Quality of Work Life) 2) ด้านการสื่อสาร เน้นกำหนดช่องทางสื่อสารในเรื่องต่าง ๆ ภายในองค์กรให้เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพ 3) ด้านธรรมเนียมการปฏิบัติ เน้นกำหนดวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด โดยยึดหลักธรรมาภิบาล นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงวัฒนธรรม และกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารราชการมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อประโยชน์ของประชาชน และ 4) ด้านการบริหารจัดการ เน้นปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงาน อัตรากำลัง และรูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังใหม่ให้เหมาะสม เป็นเอกภาพ

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด, 2549.
_______. คู่มือการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร. กรุงเทพฯ : บริษัท ส เจริญการพิมพ์, 2551. สำนักงานปลัดกระทรวง
วัฒนธรรม. ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดีเด่น กระทรวงวัฒนธรรม
ประจำปีพุทธศักราช 2555. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด, 2555.
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กลุ่มแผนและงบประมาณ. รายงานประจำปี 2553 สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย, 2554.
เย็นฤดี กะมุกดา. รูปแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมของประชาชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลางตอนบน.
วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2554.
องค์กร อมรสิรินันท์. วัฒนธรรมองค์กรคุรุสภา : การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กรคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ.
วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม : คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2554.
Radcliffe-Brown, A.R. Method in Social Anthropology. Chicago : University of Chicago Press, 1958.
Steward, Julian. Theory of Culture Change : The Methodology of Multilinear. Urbana : University of Illinois Press, 1955.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07