การถ่ายทอดทางสังคมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมด้านการอยู่ร่วมกันในสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธัญทิพย์ ธีระธนิตโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • รสวลีย์ อักษรวงศ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การถ่ายทอดทางสังคม, การเสริมสร้างคุณธรรมด้านการอยู่ร่วมกันในสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณธรรมด้านการอยู่ร่วมกันในสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษารูปแบบของการถ่ายทอดทางสังคมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมด้านการอยู่ร่วมกันในสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สนทนากลุ่ม 3 โรงเรียน จากผู้แทนกลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 3 คน กลุ่มครูผู้สอน จำนวน 8 คน กลุ่มนักเรียน จำนวน 8 คน กลุ่มผู้ปกครอง จำนวน 9 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ คือ กลุ่มพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป กลุ่มตัวแทนหน่วยงานอื่น (สื่อมลชน นักการเมือง ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา) จำนวน 5 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 38 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสนทนากลุ่มและแบบสัมภาษณ์ โดยผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า คุณธรรมด้านการอยู่ร่วมกันของนักเรียนมัธยมศึกษา มีดังนี้ การมีความรับผิดชอบ การมีระเบียบวินัย การมีความซื่อสัตย์ การมีความสามัคคี และการมีความเสียสละ ด้านการถ่ายทอดทางสังคมในการเสริมสร้างคุณธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคมของนักเรียนนั้นพบว่า สถาบันองค์กรที่มีบทบาทด้านนี้ ได้แก่ ครอบครัว สถานศึกษา วัด ชุมชน และสื่อมวลชน

References

กฤษณา บูรณพงษ์. ผู้สูงอายุกับการขัดเกลาทางสังคมในครอบครัวในการสืบทอดคุณธรรมแก่เยาวชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
จำรัส บานเย็น. การศึกษาการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มาหาวิทยาลัยราชสภัฏสุรินทร์, 2551.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน. "รูปแบบทฤษฎีปฎิสัมพันธ์นิยม (Interactionism model) และแนวทางการตั้งสมมติฐาน ในการวิจัยสาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์ในประเทศไทย," วารสารพัฒนาสังคม. 9, 1 (ตุลาคม 2550) : 85-117.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. ระบบการถ่ายทอดทางสังคมเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแก่แรงงานภาคการเกษตร ศึกษากรณีจังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2546.
ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. การศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในการขัดเกลาทางสังคมและลักษณะทางจิตใจกับพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของคนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, 2547.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2550.
ประวีณ ณ นคร. “บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคุณธรรมสำหรับข้าราชการ.” ในเอกสารอบรมปฐมนิเทศ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2526.
ประเวศ วะสี. คุณธรรมนำการพัฒนา ยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม(ศูนย์คุณธรรม) : กรุงเทพฯ, 2549.
พระมหาบุญเพียร ปุญญวิริโย. แนวคิดและวิธีการขัดเกลาทางสังคมในสถาบันครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
พระราชวรมุนี. พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮ้า, 2528.
ลัดดา ครสวรรค์ การปฏิบัติตามหลักคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2551.
ลัดดาวัลย์ พรศรีสมุทร และ วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี. ครอบครับกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมทางจิตใจของไทย. (รายงานการวิจัยฉบับที่ 25) สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2524.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. กระทรวงศึกษาธิการ. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพมฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด, 2553.
วศิน อินทสระ. จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, 2518.
วันเพ็ญ พิศาลพงศ์. การถ่ายทอดทางสังคมกับการพัฒนาการของมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2536.
วิชัย ภู่โยธิน และคณะ. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, 2552.
สุนันท์ ปรีชาชัยสุรัตน์. การใช้เทคนิคแม่แบบในการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมทางสังคมของนักเรียนที่มีลักษณะมุ่งอนาคตแตกต่างกัน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2542.
อุณาวดี คงมั่นวัฒนา. การสื่อสารกับการสังคมประกิตด้านวัฒนธรรมทางจิตใจของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.
Creswell, John W. and Vickil Plano Clark. Designing and Conducting Mixed Methods Research. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc., 2007.
Goslin, D.A. Handbook of socialization theory and research. Chicago : Rand Mcnally College, 1973.
Henslin, J. M. Essentials of sociology: A down-to-earth approach. London: Allyn&Bacon, 1996.
Holsti, O.R. Content analysis for the social sciences and humanities. Reading, MA : Addison-Wesley, 1969.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07