การบริหารจัดการเพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ชมัยภรณ์ ถนอมศรีเดชชัย วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ เทคโนโลยีที่ทันสมัย, การให้บริการสาธารณะ, เทศบาลเมืองจังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการ ศึกษาการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์ต่อการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ ศึกษาการบริหารจัดการมีผลต่อการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยเป็นวิจัยแบบผสม เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณคือ แบบสอบถาม เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในเขตเทศบาลเมือง 4 แห่งของจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 1,105 คน เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้ 959 ชุด คิดเป็นร้อยละ 86.79 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สรุปผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการมีความสัมพันธ์ต่อการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในจังหวัดสมุทรปราการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การบริหารจัดการมีผลต่อการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในจังหวัดสมุทรปราการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2559 จังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นจาก วันที่ 26 เมษายน 2560 http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/ statTDD/views/showZoneData.php?rcode=8303&statType=1&year=59.

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

ชมัยภรณ์ ถนอมศรีเดชชัย, วิจิตร วิชัยสาร และ กัญญาณัฐ เฮ็งบ้านแพ้ว (2559). “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี”. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย. 11, 4(กรกฎาคม-สิงหาคม): 57-65.

ชูมาเกอร์, อี.เอฟ. (2549). เล็กนั้นงาม : การศึกษาเศรษฐศาสตร์โดยให้ความสำคัญกับผู้คน. (กษิร ชีพเป็นสุข, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โครงการสรรพสาส์น สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก.

ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย. (2560). อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ ประธานกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554-2556. สัมภาษณ์, 25 เมษายน 2560 ณ เทศบาลนครสมุทรปราการ.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546,). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 1-15.

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. (2558). รายงานวิจัย เรื่อง การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเทศบาลสามปี (พ.ศ.2557-2559) ของเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

มุทิตา วรกัลยากุล. (2556). “ความสำเร็จในการบริหารงานของเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี”. วารสารวิทยบริการ. 24, 1(มกราคม-มีนาคม): 144-158.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). การบริหารจัดการยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.

สมพร ประทุมมาลย์, สุรางค์ เมรานนท์ และอนงค์ อนันตริยเวช. (2552). “การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล จังหวัดสระบุรี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวง มหาดไทย”. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 3, 2 (มิถุนายน – กันยายน): 13-25.

สุริยานนท์ พลสิม. (2557). “สถานภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับพิเศษ. 10, (พิเศษ) (กันยายน): 132-136.

อุไร ดวงระหว้า. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการ One Stop Service: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Millett, John D. (1954). Management in the Public Service: The Quest for Effective Performance. New York: McGraw-Hill.)

Nye, Joseph S. & John D. Donahue. (2000). Governance in a Globalizing World. Washington, D.C.: Brookings Institution Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-18