แนวทางส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • วรนุช กุอุทา สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • กฤตยกมล ธานิสพงศ์ สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • กันตภณ หลอดโสภา คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

องค์ความรู้, ศักยภาพการจัดการวิสาหกิจชุมชน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการในด้านที่สามารถพัฒนาเป็นศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการวิสาหกิจชุมชน และหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพรวมถึงองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบ F-test One-way ANOVA โดยผลการวิจัยพบว่า (1.)กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 400 ราย จำแนกตามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50ปี มีตำแหน่งเป็นประธานกลุ่ม การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. รายได้รวมต่อเดือน 10,000 – 20,000 บาท ระยะเวลาในการประกอบกิจการมากกว่า 10 ปี ประเภทกิจการเป็นประเภทการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งมีตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ภายในจังหวัดและชุมชนเท่านั้น โดยขนาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มขนาดเล็ก ที่ได้รับรองมาตรฐาน GMP และ อย. แล้ว (2.) การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนในการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการตลาด ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ด้านการวางแผน ด้านการผลิต แปรรูป ด้านการจัดการองค์การ ด้านเงินทุน และด้านการรายงานและการจัดทำรายงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเนื่องจากหน่วยงานต่าง ๆ ยังให้ความสำคัญกับด้านนี้ค่อนข้างน้อย (3.) ประเภทกิจการและขนาดของวิสาหกิจชุมชนที่แตกต่างกันมีแนวทางส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนที่แตกต่างกัน

References

กรมการพัฒนาชุมชน,เอกสารแนวคิด แนวทาง และกรณีตัวอย่างการดำเนินงานศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชน,กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชนกรมการพัฒนาชุมชน, 2557

ขวัญชนก ห่านนิมิตกุลชัย,แนวปฏิบัติและปัญหาในการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสกลนคร,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา; กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ,2556

จตุภูมิ จิตต์ประเสริฐ,แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี,วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป,มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี,2554

จักรพันธ์ โสมะเกษตริน,แนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารการผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ, มหาวิทยาลัยศรีสะเกษ, 2555

จำเนียร บุญมาก,วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME’s) กับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย, แม่โจ้ปริทัศน์, 1(6), 80-83, 2555

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง : กรณีดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา,กรุงเทพฯ : สำนัก, 2551

สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน, แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมกระบวนการประชาชนและวิสาหกิจชุมชน ตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปี ๒๕๔๘, กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพฯ. 2555

สำนักสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชนาดกลางและขนาดย่อม, http://www.sme.go.th/th, ออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, คู่มือการจดทะเบียนวิสาหกิจและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน, สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร, 2554

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610,1970

Laudon, Kenneth C. and Laudon, Jane P., Management information systems: Managing the digital Firm. 7 th (ed) Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall, 2002

Starkey, Paul. Networking for development. London: International Forum for Rural Transport and Development, 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-21