ความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1

ผู้แต่ง

  • สหัสนัยน์ กฤษณสุวรรณ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • วีระ ไชยศรีสุข มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • อิทธิพล จินารัตน์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

ความต้องการการนิเทศภายใน, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำแนกตามเพศและวิทยฐานะของครู กลุ่มตัวอย่างคือ ครู จำนวน 339 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเพื่อใช้หาคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟา สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ สถิติที (t-test) และสถิติเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe¢s) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการปฐมนิเทศครู รองลงมาคือ ด้านการจัดบริการพิเศษแก่นักเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการอบรมครูประจำการ ส่วนความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดระบบการเรียนการสอน ด้านการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการวัดและประเมินผลการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามวิทยฐานะ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดระบบการเรียนการสอน ด้านการจัดระบบบุคลากร ด้านการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ด้านการปฐมนิเทศครู และด้านการวัดและประเมินผลการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช (2544). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.

เดโช เสวนานนทร์. (2512). สัปทานกรมจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

________. (2546). การวิจัยเบื้องตน. (พิมพครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน.

ปรีชา นิพนธ์พิทยา. (2543). บทบาทของคุณพ่อคุณแม่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ไม่ได้ตีพิมพ์. สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.

รุ่งทิพย์ รุ่งเรือง. (2546). สภาพและปัญหาการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ไม่ได้ตีพิมพ์. สถาบันราชภัฏธนบุรี.

ศิริ เพชรคีรี. (2545). รายงานการนิเทศการเรียนการสอนแบบ TEACH เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในโรงเรียนศรีชมพูวิทยา อำเภอพิสัย จังหวัดหนองคาย. หนองคาย :สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). บันทึกไว้ในแผ่นดิน บทสรุปการนิเทศ ศน.สศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24