การผลิตสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล

ผู้แต่ง

  • เวชยันต์ ปั่นธรรม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • วิภาวี วีระวงศ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

โมชันกราฟิก, ระบบเสียงรอบทิศทาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อนและหลังการใช้สื่อโมชันกราฟิก เรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิก เรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัย ได้สร้างสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล   แบบฝึกหัด แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินคุณภาพของสื่อ แบบประเมินความพึงพอใจ จากสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ทำการประเมิน 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ประเมินคุณภาพสื่อโดยใช้แบบประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน โดยผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าสื่อมีความเหมาะสมในการเป็นสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล อยู่ในระดับ ดี (gif.latex?\bar{x}= 4.46 , S.D. = 0.51) ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความรู้โดยใช้แบบทดสอบ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความพึงพอใจ โดยใช้แบบระเมินความพึงพอใจ จากกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ระดับ ปวช. วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 30 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า ด้านประสิทธิภาพของสื่อ ก่อนการชมสื่อมีค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดสอบ 4.63 คะแนน และหลังจากรับชมสื่อมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบ 12.20   คะแนน และคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดระหว่างรับชมสื่อมีคะแนนเฉลี่ย 12.53 คะแนน มาหาประสิทธิภาพสื่อ พบว่าสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล มีประสิทธิภาพ 83.55/81.33 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80   และนำค่าเฉลี่ยของคะแนนไปทดสอบความแตกต่างโดยใช้ t-test dependent พบว่าค่า t จากการคำนวณ = 23.349 ส่วนค่า t จากตารางที่ df = 30 -1 = 29 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 , t = 2.754 ดังนั้นค่า t จากการคำนวณสูงกว่าค่า t จากตาราง จึงสรุปได้ว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังรับชมสื่อ สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนรับชมสื่อจริง ดังนั้นผลการศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อนและหลังการใช้สื่อโมชันกราฟิก เรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล จึงมีความน่าเชื่อถือได้ 99% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 ทางด้านความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 4.43 , S.D. = 0.60) และของนักศึกษา อยู่ในระดับ ดี (gif.latex?\bar{x}= 4.27 , S.D. = 0.74)

References

ศุภกิจ อำพาส. (2537). สร้างและออกแบบลำโพง ไฮ-ไฟ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด

ประพันธ์ พิพัฒนสุข. (2557). ระบบเสียง. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ

ไชยวัฒน์ วงศ์สมศรี. 2556. เครื่องเสียง. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ.(2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น

สมสุข หินพิมานและคณะ.(2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Own Lee. (2560). ระบบเสียง Stereo และ Surround ต่างกันอย่างไร. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.wemall.com

Infographic Thailand. (2557). เบื้องหลังการทำ Motion Graphic. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://infographic.in.th

ปิยะดนัย วิเคียน. (2556). การเขียนบทวีดีทัศน์และภาพยนตร์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://krupiyadanai.wordpress.com

ชานม. (2557). รู้จักระบบโฮมเธียเตอร์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.lcdtvthailand.com

The Power. วิธีวางลำโพงให้เหมือนมีโรงหนังอยู่ในบ้าน. (2560). (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.thepower.co.th/speakers-positioning-for-home-theater/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-25