แนวทางการบริหารงานแนะแนวเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

ผู้แต่ง

  • ศิรณี พลเสนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • อาจารี คูวัธนไพศาล สถาบันการจัดการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ธีระดา ภิญโญ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

การบริหารงานแนะแนว, สร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ, นักเรียนมัธยมศึกษา.

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานแนะแนว 2) เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานแนะแนวเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารงานแนะแนว โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับครูแนะแนวด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบใช้หลักความน่าจะเป็น แบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 110 ชุด และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับรองผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 8 โรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานแนะแนว โดยภาพรวม ด้านขอบข่าย และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก2) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานแนะแนว โดยภาพรวมด้านขอบข่าย และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานแนะแนว โดยภาพรวมด้านขอบข่าย และด้านกระบวนการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ4) แนวทางการบริหารงานแนะแนวประกอบด้วย นโยบายเพิ่มศักยภาพนักเรียนด้วยการแนะแนวเชิงรุก นโยบายจัดตั้งศูนย์สารสนเทศเพื่อการแนะแนวอาชีพอย่างกว้างขวาง และนโยบายเน้นกระบวนการแนะแนวเชิงระบบอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน ด้านการปรับปรุงและพัฒนาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารงานแนะแนวเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2560). แนวทางในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ (work experience). จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2560 จากเว็ปไซต์: http://www.supergenz.com

กระทรวงแรงงาน (2559). การบริการแนะแนวอาชีพของกรมการจัดหางาน. วารสารสถานการณ์ตลาดแรงงานภาคกลางไตรมาสที่ 4 , 2560

เกศวรา น้องคนึง (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

เกษมชาติ นเรศเสนีย์ (2553). ยุทธศาสตร์เผยแพร่พระพุทธศาสนาเชิง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระราชูปถัมภ์ (ฉบับ 7), 55-56.

คณิศร์ จับจิตต์ (2559). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา)

จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร (2558). กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

เชาวนา อมรส่งเจริญ (2553). การบริหารงานแนะแนวของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)

ดาลี พินิจ (2553). การจัดทำแนวปฏิบัติในการจัดกิจกรรมแนะแนวของโรงเรียนบ้านดู่ สหราษฎร์พัฒนาคาร พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 กรณีศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ)

ธนตพร พูนปริญญา (2553). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาดำเนินงานแนะแนวของครูแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

ประพันธ์ เวารัมย์ (2555). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ “โมเดลภูเขาน้ำแข็ง” (Iceberg Model), จาก grorp.wunjun.com/valrom2012/topic/362656-11237.

ปราณี ตันติตระกูล. (2556). ปัจจัยการควบคุมงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560). แผนพัฒนาทิศทางการปฏิบัติงานกระทรวงศึกษาธิการและส่วนราชการ/หน่วยงานในสังกัด. จากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา

รัตนา เมืองจินดา (2553). การศึกษาความพึงพอใจของครูแนะแนวที่มีต่อบริหารงานแนะแนว ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาตราด. (วิทยานิพนธครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี)

วิภา ชัยยะ (2553). การบริหารงานแนะแนะมิติใหม่ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย)

วุฒิชัย ปลื้มจิต (2553). สภาพการดำเนินงานแนะแนวในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (2558). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. Productivity World. Operations. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2560 จาก htt://www.ftpi.or.th/

สุภาวดี ทองบุญส่ง (2556). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

สุรางค์ ไชยสงคราม (2557). การบริหารงานแนะแนวของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (2559). การขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ (Work Experience) ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2560 จาก http:// www.supergenz.com

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2560). การสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ (Work Experience) ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2560 จากระทรวงศึกษาธิการ, 2560 จากเว็ปไซต์: http://www.supergenz.com

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้ง.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2553). ระบบการแนะแนวในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 (2560). ข้อมูลครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 จาก เว็ปไซต์ http://www.secondary3.go.th/main.

อาทิมา จันทร์แจ่มแจ้ง (2558). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, หมาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครม)

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale in Reading in Fishbeic,M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26