รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ ลีลาศสง่างาม สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • จินตนา จุลทัศน์ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สุภาพร ใจการุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จังหวัดอุบลราชธานี 2) พัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ระยะที่ 1 คือ ประชาชนที่ผ่านการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานตามเกณฑ์การคัดกรองของสำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค จำนวน 397 คนและระยะที่ 2 คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข จำนวน 10 คนและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ จำนวน 15 ตัวแปร 2) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 3) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน 4) แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยด้วยวิธี stepwise และวิเคราะห์   เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงน้อย มี 4 ปัจจัย ได้แก่ รับรู้ความรุนแรงของโรคอาหาร , พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, ภาวะลงพุงและรับรู้ความเสี่ยงของโรค กลุ่มเสี่ยงปานกลาง มี 5 ปัจจัย ได้แก่ รับรู้ความเสี่ยงของโรค, ภาวะ, รับรู้ประโยชน์ของการ ปฏิบัติตัว, แรงจูงใจในการปฏิบัติตัว และไขมันผิดปกติ ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูง มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ไขมันผิดปกติ, การออกกำลังกาย, การสูบบุหรี่ และรับรู้ความรุนแรงของโรค 2) ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า รูปแบบมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการ ใช้หลักการจัดการตนเองและการสนับสนุนทางสังคม 2) วัตถุประสงค์คือ เสริมสร้างสมรรถนะด้านความรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดการตนเอง 3) วิธีดำเนินการคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ 4) การประเมินรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จคือ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานควรได้รับความรู้ที่ถูกต้องในการปรับพฤติกรรมสุขภาพและการสนับสนุนที่ดีจากครอบครัว ชุมชน

References

เกื้อกูล ชูกลิ่น. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักเขตพื้นที่การประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2557.

ขนิษฐา พิศฉลาด, ฉันทนา แรงสิงห์ และเกศมณี มูลปานนท์. “การพัฒนารูปแบบการป้องกัน การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน จังหวัดเชียงราย,” วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 28, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2559): 132-146.

เขมารวดี มาสิงบุญ, สายฝน ม่วงคุ้ม และสุวรรณี มหากายนันท์. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน,” วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 27, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560): 214-227.

ควบคุมโรค, กรม., สาธารณสุข,. กระทรวง. แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปี 2560-2564. (ออนไลน์) 2561 (อ้างเมื่อ 10 มิถุนายน 2561). จาก plan.ddc.moph.go.th/...1/.../1.แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ.pdf

จิตรา ดุษฎีเมธา. “การศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 3-Self ของตำรวจราจรกลุ่มสี่ยง,” วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 7, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558): 40-58.

จิราภรณ์ ชิณโสม และวิพร เสนารักษ์. “สถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้หญิงอีสานวัยกลางคน: กรณีศึกษาชุมชนเมืองแห่งหนึ่ง,” วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 29, 1 (มกราคม-มีนาคม 2554): 31-39.

ชูศรีวงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี: ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ, 2560.

พัชรวรรณ แก้วศรีงาม, มยุรี นิรัตธราดร และชดช้อย วัฒนะ. “ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน,” วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 27, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558): 119-131.

เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก และคณะ. “การรับรู้ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานตามเกณฑ์และวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพญาติสายตรงลำดับแรกของผู้ที่เป็นเบาหวาน,”รามาธิบดีพยาบาลสาร. 16, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2553): 169-183.

ยุทธ ไกยวรรณ์. การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

โรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคม. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017). ปทุมธานี: บริษัท ร่วมเย็น มีเดีย จำกัด, 2560.

โรคไม่ติดต่อ, สำนัก., ควบคุมโรค, กรม., สาธารณสุข, กระทรวง. รูปแบบการบริหารการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2560.

วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, วัชรอาทร ดุลยสถิต และนวพรรณ ผลบุญ. แรกเริ่มเรียนรู้อาชีวเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชลบุรี: สัมมาอาชีวะ, 2560.

สร้างเสริมสุขภาพจิต, แผนงาน., สุขภาพจิต, กรม. คู่มือปรับพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัท แอลที เพรส จำกัด, 2556.

สาธารณสุข, กระทรวง. ร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2564). (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559). จาก 25wops.moph.go.th/ops/oic/data/ 20161115144754_1_.pdf

สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, สำนักงาน. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน. (ออนไลน์) 2559. (อ้างเมื่อ20 ธันวาคม 2560) จาก http://www.phoubon.in.th/ hdc/main/index.php?sele_kpiyear

สุขศึกษา, กอง. สาธารณสุข, กระทรวง. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2558.

อรุณี สมพันธ์ และคณะ. “ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวาน,” รามาธิบดีพยาบาลสาร. 21, 1 (มกราคม-เมษายน 2558): 96-109.

Gray, M. et al. “A revised Self- and Family Management Framework,” Nursing Outlook. 63, 2 (March-Apirl 2015): 162-170.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26