ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติของครูผู้ดูแลเด็กในการประเมินสุขภาพเด็กปฐมวัยเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

Main Article Content

อรอนงค์ ธรรมจินดา
กัญญาพัชญ์ จาอ้าย
พัชรกันย์ ฉัตรวิไลลักษณ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pretest posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติในการประเมินสุขภาพเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็กเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่พบบ่อยในโรงเรียนอนุบาล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้ปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 36 คน จากโรงเรียนอนุบาล 2 แห่ง ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดความรู้และการปฏิบัติของครูอนุบาลในการประเมินสุขภาพเด็กปฐมวัยเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ สถิติทดสอบ ที ( t- test )


           ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีระดับความรู้และการปฏิบัติในการประเมินสุขภาพเด็กปฐมวัยเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติที่ระดับ .001 (p<.001)  และ หลังได้รับการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ กลุ่มทดลองมีระดับความรู้และการปฏิบัติสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.001)


          ผลการศึกษาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของโคล์บ ทำให้ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และการปฏิบัติในการประเมินสุขภาพเด็กปฐมวัย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อสูงขึ้น ซึ่งวิธีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนแก่ นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนในชุมชน เพื่อให้ได้ผลในการเพิ่มความรู้ และการปฏิบัติของผู้เรียนตามที่คาดหวังไว้    

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1 Bloom, B. (1971). Hand book on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

2 Department of Disease Control. (2016). Guidelines for disease prevention and control in childcare center and kindergarten (for childcare teacher). Bangkok: Born to be Publishing Co. Ltd. (in Thai).

3 Issarasongkhram, M., Boonprakong, T., & Chunkao, K. (2015). Knowledge and practices in control and prevention of communicable diseases of childcare volunteers in early childhood development centers, Bangkok. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 31 (2), 80 - 91. (in Thai).

4 Khammanee, T. (2014). Teaching strategies to the efficient learning process. Bangkok: Chulalongkorn University. Printing House (in Thai).

5 Kolb, D. A. (2014). Experiential learning: Experience as the source of learning and development (2 nd edition). NJ: Pearson Edu.

6 Kongyu, S., Hinjoy, S., Smithsuwan, P., Lertsuphotvanit, S., & Sukkasem, P. (2016). A survey of knowledge, attitudes, and practices on the prevention and control of hand foot and mouth disease among teachers and child care providers in child care centers, Thailand. Disease Control Journal, 42 (2), 94 - 107. (in Thai).

7 Kummak, S. (2016). Self-care behaviors among hypertension patients in tambon Nanglao Health Promoting Hospital, Amphur Satingpha, Songkhla Province. The Sounthern College Network Journal of Nursing and Public Health,3 (3), 153 - 169.

8 Meethip, N., Tumdee, D., & Bhuddhirakkul, P. (2016). Effects of experiential learning on knowledge and screening practice and advice for hypertension among village health volunteers. Nursing Journal, 43 Supplement December 2016, 104-115. (in Thai).

9 Ministry of Social Development and Human security. (2012). National Standard Childcare Center: Standard Operating Procedures. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited. (in Thai).

10. Polit, D. F., & Beck, C. T. (2016). Nursing research generating and assessing evidence for nursing practice. Philadelphia: Wolters Kluwer.

11 Ruangrong, P. Jaritngam, D., Leaudnakrob, N., Promthep, S., Chaobangngam, S., Boonsem, R., Akevilai, S. & Homkajorn, N. (2016). The training model to create online evaluation using google site with collaborative learning. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 8 (2). 86-95. (in Thai).

12 Srijaiwong, S., Banchredpongchai, P., Saetang, O., Visidgoson, J. & Deeprom, D. (2013). The effectiveness of educational program on knowledge about breast cancer disease and breast self - examination skills in women community health volunteer. Boromarajonnani College of Nursing, Uttaradit Journal, 5 (2), 27-42. (in Thai).

13 Srikhumkruan, P. (2013). Effects of capacity building for breast self-examination of female health volunteers in Surin’s communities. Journal of Public Health Nursing, 27 (3), 71- 82. (in Thai)

14 Thato, R. (2018). Nursing research: concepts to application (Third edition ). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai).