ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนนิธิวิทย์ จังหวัดน่าน

Main Article Content

สุกัญญา วรรณศรี
สืบตระกูล ตันตลานุกุล
กิตติพร เนาว์สุวรรณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนนิธิวิทย์ จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนนิธิวิทย์ จังหวัดน่าน จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันโดยการจับคู่ด้าน อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการสอนโปรแกรมการสอนแนะเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการสอนแนะเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินการปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน หาความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคของแบบประเมินทักษะได้ค่าเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที


          ผลการวิจัย พบว่า


1) นักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะมีคะแนนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) นักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะมีคะแนนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลองดีกว่านักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1. American Heart Association. (2017). AHA Guidelines update for CPR and ECC [online] 2017 [cited 2017 January 1]. Available from: https://eccguidelines.heart.org/index.php/circulation/cpr-ecc-guidelines-2/

2. Andrew, L., Katherine, B. & Heather, Y. (2015). Opportunities and barriers to cardiopulmonary resuscitation training in English secondary schools. European Journal of Emergency Medicine, 23 (5), 381-385.

3. Bottiger, W. & Aken, H. (2015). Kids save lives –Training school children in cardiopulmonary resuscitation worldwide is now endorsed by the World Health Organization (WHO). Journal of the European Resuscitation Council, 94 (1), A5–A7.

4. Buathongjun,J., Teerawatskul,S. & Suttineam,U. (2018). Effect of basic life support program on basic life support competency in the supporting staff of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal.10 (1).69- 82. (in Thai)

5. Burns, N. & Grove, S. (2009). The practice of nursing research Appraisal, synthesis and generation of evidence. 6th Edit. Saunders Elsevier: St. Louis.

6. Chunggis, J. (2016). The Development of instructional video on physical examination in health assessment course based on flipped concept. Graduate School Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)

7. Gracy, K.M. (2001). Coaching a leadership skill for APN. Newborn and Infant Nursing Reviews, 1(3), 176-180.

8. Grealish, L. ( 2000). The Skills of coach are an essential element in clinical Learning. Journal of Advance Nursing, 13 (1), 649-661.

9. Hasselqvist-Ax, I. et al. (2015). Early cardiopulmonary resuscitation in out-of-hospital cardiac arrest. The New England Journal of Medicine, 372, 2307-2315.

10. Kronick, S. et al. (2015). Part 4: Systems of care and continuous quality improvement 2015 American Heart Association guidelines update for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care. Circulation, 132 (18), S397-S413.

11. Tupamongkol, S.& Ua-kit, N. (2015). The effect of coaching program on basic cardiopulmonary life support practice in mothers of congenital heart disease children. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University. 27 (1). 49-59. (in Thai)

12. Thato, R. (2009). Nursing research : concepts to application. 2nd edit. Bangkok : chulalongkorn university printing house. (in Thai)