ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขสบายของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่ศูนย์อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน

Main Article Content

ปัณฑารีย์ เกียรติสถิตกุล
ยุพิน ถนัดวณิชย์
อาภรณ์ ดีนาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความสุขสบายของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ศูนย์อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน และความสัมพันธ์ระหว่างความสุขสบายกับการได้รับข้อมูลการเจ็บป่วย การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย และความเชื่อถือและยอมรับในการบริการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจราจรทางบก จำนวน 82 ราย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ ก) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ข) แบบบันทึกข้อมูลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย ค) แบบสอบถามการได้รับข้อมูลการเจ็บป่วย ง) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย จ) แบบสอบถามความเชื่อถือและยอมรับในการบริการสุขภาพ และ ฉ) แบบสอบถามความสุขสบายของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


          ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจราจรทางบกมีความสุขสบายในระดับปานกลาง ( X = 95.49, SD = 13.17)  2) การได้รับข้อมูลการเจ็บป่วย การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา พยาบาลแก่ผู้ป่วย และความเชื่อถือและยอมรับในการบริการสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขสบายของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย (r = .337, .302, และ .436 ตามลำดับ p < .05) ดังนั้นผู้ให้การบริการสุขภาพควรตระหนักและให้การดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบาย สำหรับสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจราจรทางบกขณะเยี่ยมผู้ป่วยที่ศูนย์อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โดยการให้ข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้ป่วยอย่างเพียงพอ ให้สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษาแก่ผู้ป่วย และการสร้างความเชื่อถือในการบริการสุขภาพให้เกิดการยอมรับจากสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจราจรทางบก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)
Author Biography

ปัณฑารีย์ เกียรติสถิตกุล

     

References

1 Bond, A. E., Draeger, C. R., Mandleco, B., & Donnelly, M. (2003). Needs of family members of patients with severe traumatic brain injury: implication for evidence-based practice. Critical Care Nurse, (23)4, 63–72.

2 Byczkowski, T. L., Gillespie, G. L., Kennebeck, S.S., Fitzgerald, M. R., Downing, K. A., & Alessandrini, E. A. (2015). Family-centered pediatric emergency care: a framework for measuring what parents want and value. Academic Pediatrics, 16(4), 327-35.

3 Chang, C. S., Chen, S. Y., & Lan, Y. T. (2013). Service quality, trust, and patient satisfaction in interpersonal–based medical service encounters. BMC Health Services Research,13(22), 1-11.

4 Huffines, M., Johnson, K.L., NaranJo, L.L., Lissauer, M. E., Fishel, M. A-M.,Howes,SM., Pannullo, D., Ralls, M., & Smith, R. (2013). Improving family satisfaction and participation indesicion making in an intensive care unit. Critical Care Nurse, 33(5), 56-69

5 Kolcaba, K. (2003). Comfort theory and practice: A vision for holistic health care and research, New York: Springer.

6 Longsawad, R., Duangpaeng, S., & Masingboon, K. (2011). Factors related to family participation in caring for critically ill patients admitted in the intensive care unit. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 19(2), 54-67. (in Thai)

7 McAdam, J. L., Dracup, K. A., White, D. B., Fontaine, D. B., & Puntillo, K. A. (2010). Symptom experiences of family members of intensive care unit patients at high risk for dying. Critical Care Medicine, 38(4), 1078-85.

8 Morphet, J., Decker, K., Crawford, K., Innes, K., Williams, A. F., & Griffiths, D. (2015). Aged care residents in the emergency department: the experiences of relatives. Journal of Clinical Nursing, 24(23-24), 3647-53.

9 Olsson, L. E., Jakobsson, U. E., Swedberg, K., & Ekman, L. (2013). Efficacy of person centeredcare as an intervention in controlled trials - a systematic review. Journal of Clinical Nursing,22 (3-4), 456-65.

10 Perez-Nunez, R., Pelcastre-Villafuerte, B., Hijar, M., Avila-Burgos, L., & Celis, A. (2012). A qualitative approach to the intangible cost of road traffic injuries. Interna - tional Journal of Injury Control and Safety Promotion, 19(1), 69-79.

11 Van, H. E., & Tesh, A. (2000). The effect of critical care hospitalization on family members: stress and response. Dimensions of Critical Care Nursing, 19(4), 40-9.

12 Verhaeghe, S., Derfloor, T., & Grypdonck, M. (2005). Stress and coping among families of patients with traumatic brain injury: a review of the litera- ture. Journal of Clinical Nursing, 14(8), 1004-12.

13 Zainah, M., Sasikala, M., Nurfarieza, M. A., & Ho, S. E. (2016). Needs of family members of critically ill patients in a critical care unit at University Kebangsaan Malaysia Medical Centre. Medicine & Health, 11(1), 11-21.