การพัฒนาโปรแกรมสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรูปแบบสื่อออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความรู้ในการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ

Main Article Content

วันดี แก้วแสงอ่อน
จามจุรี แซ่หลู่

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ เพื่อพัฒนาโปรแกรมสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรูปแบบสื่อออนไลน์ และเพื่อประเมินผลการใช้โปรแกรม วิธีการดำเนินการวิจัย 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 12 คน โดยการสนทนากลุ่ม นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 2) พัฒนาโปรแกรมสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรูปแบบสื่อออนไลน์ ซึ่งได้ค่า CVI .98 3) ประเมินผลการใช้โปรแกรม จากนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 ราย โดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งได้ค่า CVI เท่ากับ .83 และ .94 และได้ค่าความเที่ยง .96 และ .93  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบ Paired t-test


          ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาของนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ ดังนี้ 1) นักศึกษาโดยส่วนใหญ่จำและเข้าใจเนื้อที่เรียนได้น้อย 2) นักศึกษาไม่มั่นใจในการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริง นักศึกษามีความต้องการในการเรียนรู้ ดังนี้  1) มีเวลาในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 2) มีสื่อการสอนที่เข้าถึงง่าย เรียนรู้ได้ตลอดเวลาและสนุก สำหรับโปรแกรมสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรูปแบบสื่อออนไลน์ ประกอบด้วย 1) ขั้นนำ 2) ขั้นปฏิบัติตามสถานการณ์ และ 3) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ ผลการประเมินความรู้พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังเข้าร่วมโปรแกรม  ( X= 9.57, SD =1.46) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ( X= 6.10, SD = 2.06) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.35, SD = .61) ดังนั้นควรมีการนำโปรแกรมสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรูปแบบสื่อออนไลน์ไปใช้ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความรู้ ทั้งนี้ควรเตรียมอาจารย์ให้เข้าใจการใช้โปรแกรมก่อนดำเนินการเพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1)Chobjit, D., Chaisombat, D., Wongsan, S. M. (2017). The effect of Web Based Instruction (WBI), learning in the subject: Community Health Nursing II among the nursing students, Boromarajonnani College of Nursing, Phayao. Journal of Nursing, Public Health and Education, 18(2): 95-105. (in Thai)

2) Dechakupt, P. & Yindeesook, P. (2015). Learning management in the 21st century. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

3) Groom. J. A., Henderson, D. & Sittner, B. J. (2014). NLN/Jeffres simulation framwork state of science project: Simulation design characteristic. Clinical Simulation in Nursing. Retrieved December 10, 2017 from https://www.nursingsimulation.org/article/S1876-1399(13)00036-4/fulltext.

4) Jeffries, P. R., & Roger, K. U. (2007). Theoretical framework for simulation design. In P.R.

5) Jeffries (Eds), Simulation in nursing education: From conceptualization to evaluation, (First ed., pp. 21-33). New York, NY: Nation League of Nursing.

6) Khamanee, T. (2017). The Science of Teaching: Knowledge for an Effective Learning Process Management. Bangkok: Dansuntra Printing Company. (in Thai)

7) Kumkong, M., Leejareon, P., Aramrom, Y. & Jitviboon A. (2016). Effects of Simulation-Based

8) Learning on Perceived Self-Efficacy in Providing Nursing Care for Advanced Life Support to Patients with Critical Illness or Emergency Condition among Nursing Students. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(3), 52-64. (in Thai)

9) Liaw, S. Y., Scherpbier, A., Rethans, J. & Klainin-Yobas, P. (2012). Assessment for simulation learning outcome: A comparison of knowledge and self-reported confidence with observed clinical performance. Nursing Education Today, 32, 35-339.

10) Norkaeo, D. (2015). Simulation based learning for nursing education. Journal of Boromrajonani college of Nursing, Bangkok, 31(3), 112-122. (in Thai)

11) Sinthuchai, S., Ubolwan, K. & Boonsin, S. (2017). Effects of High-Fidality Simulation Based

12) Learning on Knowledge, Satisfaction, and Self-Confidence among the Fourth Year Nursing Students in Comprehensive Nursing Care Practicum. Ramathibodi Nursing Journal, 1(23), 113-127. (in Thai)

13) Sittipakorn, S., et al. (2018). Effects of High-Fidality Simulation Based Learning on Self-Confidence and Satisfaction among the 3rd Years Nursing Student in Faculty of Nursing Mahasarakham University. Mahasarakham Journal, 14(1), 600-609. (in Thai)

14) Srisaard, B. (2012). Research for Teacher. Bangkok; Suveriyasan. (in Thai)

15) Suwannakeeree, W., Jullmusi, J. & Tantkawanich, T. (2016). Simulation-Based learning Management for Nuring students. Journal of Nursing Science, Chulalongkorn University, 28(2): 1-14. (in Thai)

16) Wannakairoj, S. (2017). The meaning of learning by e-Learning. Retrieved December 16, 2017 from https://www.thai2learn.com. (in Thai)