วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc <p><img src="https://he01.tci-thaijo.org/public/site/images/uncjournal/-2-d8c50e3218fbc7514ec484bb1033455b.jpg" alt="" width="750" height="1061" /></p> <p> </p> <h3> </h3> <p> </p> สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ร่วมกับ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข th-TH วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2822-0706 <p>บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการหรือสมาคมศิษย์เก่า ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลอุทัยธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e259249 <p>โลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นภาวะที่พบมากและมีผลกระทบกับสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์โดยส่งผลให้เกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด หรือส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย การศึกษาเชิงพรรณนาโดยการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Descriptive Study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างประวัติการฝากครรภ์ และการคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารกที่โรงพยาบาลอุทัยธานีเพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าในการพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ของโรงพยาบาล โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากข้อมูลเวชระเบียน ทะเบียนการฝากครรภ์และทะเบียนการคลอด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2560 คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G* Power ได้จำนวน 88 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและค่าไคสแคว์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลอุทัยธานี มีจำนวน 88 ราย จาก 1,375 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.40 โดยร้อยละ 61.36 เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี ภาวะแทรกซ้อนของมารดาที่พบคือตกเลือดหลังคลอด 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.82 ไม่พบภาวะแทรกซ้อนในทารก 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาที่มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ คืออายุของหญิงตั้งครรภ์และอายุครรภ์ที่คลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนถึงความชุกและปัจจัยร่วมที่ส่งผลต่อภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่ผู้ให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญ และยังประโยชน์ในการดูแลเชิงรุกเช่นการให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อลดความชุกของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์</p> หทัยรัตน์ บุษยพรรณพงศ์ ยุพิน เครือบโสภา สินาภรณ์ กล่อมยงค์ ฐิติมา คาระบุตร จาฏุพัจน์ ศรีพุ่ม Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 15 2 e259249 e259249 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e266189 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวและหาปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ที่ลงทะเบียนเรียนในช่วงปีการศึกษา 2564 ถึง 2565 ด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้คอมพิวเตอร์ จำนวน 129 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการปรับตัวในสถานการณ์โควิด 19 แบบสอบถามความรูเรื่องโรคโควิด-19 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ แบบสอบถามความเข้มแข็งทางใจ และระยะเวลาในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาด้วยสมการการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และนำตัวแปรเข้าด้วยวิธี Enter</p> <p>ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ โดยภาพรวมมีการปรับตัวในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 อยู่ในระดับมาก (SD= .545) ความรูเรื่องโรคโควิด-19 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.18 อยู่ในระดับมาก (SD=1.558) การสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 อยู่ในระดับค่อนข้างมาก (SD= 1.656) ความเข้มแข็งทางใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.89 อยู่ในระดับปานกลาง (SD= .470) มีการใช้เวลาในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 เฉลี่ย 50.49 นาทีต่อวัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระที่สามารถ พยากรณ์การปรับตัวของนักศึกษา ได้แก่ ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของนักศึกษา (β= .261) ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ (β= .219) และปัจจัยความเข้มแข็งทางใจ (β= -.179) สามารถพยากรณ์การปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ได้ร้อยละ 15.3 (Adjust R<sup>2</sup> = .153, p&lt; .001)</p> <p> จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าสถาบันควรจัดกิจกรรมในการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโควิด 19 และสร้างความเข้าใจในการรับรู้ และการสนับสนุนทางสังคมทั้งจากเพื่อน อาจารย์ และครอบครัวคนใกล้ชิดให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อส่งเสริมนักศึกษาให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในทุก ๆ ด้าน</p> <p> </p> นัยนา สถิตย์เสถียร พวงทอง อินใจ ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ กาญจนา พิบูลย์ นงลักษณ์ วิชัยรัมย์ สมหญิง บู่แก้ว พลอยพันธ์ กลิ่นวิชิต Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 15 2 e266189 e266189 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e263360 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการคุกคามทางเพศ พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของสื่อการเรียนรู้แบบนำตนเองในการป้องกันการคุกคามทางเพศสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ศึกษาช่วง ก.ค. 64 ถึง มิ.ย. 65 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดลำปาง จำนวน 443 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้การคุกคามทางเพศ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการคุกคามทางเพศ ปรับปรุงจากเครื่องมือของ ทิพย์วรรณ แซ่ปัง (Saepung, 2009) และ เฟื่องลดา แผลงศร (Plaengsorn, 2017) 3) สื่อการเรียนรู้แบบนำตนเองในการป้องกันการคุกคามทางเพศแบบออนไลน์ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าสัมประสิทธิ์ความตรงของเนื้อหาเท่ากับ .67 – 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการรับรู้การคุกคามทางเพศ, พฤติกรรมการกล้าแสดงออก, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการคุกคามทางเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .158 ถึง .436 2) การเรียนรู้ในการป้องกันด้วยตนเองโดยการใช้การเรียนรู้ทาง Web page ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการถูกคุกคาม เพิ่มความตระหนักรู้ การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ การฝึกทักษะการแสดงออกอย่างเหมาะสมและการฝึกทักษะความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 3) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการคุกคามทางเพศระหว่างก่อนและหลังใช้สื่อการเรียนรู้แบบนำตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (t=2.085, p-value=.042) โดยค่าเฉลี่ยหลังใช้สื่อการเรียนรู้สูงกว่าก่อนใช้ (𝑥̅= 2.51, SD = .279 และ 𝑥̅= 2.37, SD = .409 ตามลำดับ)</p> <p>สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาควรนำสื่อการเรียนรู้แบบนำตนเองในการป้องกันตนเองจากการคุกคามทางเพศไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร</p> วรภรณ์ ทินวัง ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ วินัย รอบคอบ ณัฐธิรา ทิวาโต Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 15 2 e263360 e263360 การศึกษาเปรียบเทียบการปรับตัวในช่วงความปกติรูปแบบใหม่ระหว่างกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่มีความแตกต่างกันด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล และการป้องกันตนเองจาก COVID-19 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e260491 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปรับตัวในช่วงความปกติรูปแบบใหม่ (New normal) ของนักศึกษาและ 2) เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของนักศึกษาจำแนกตามเพศ ภูมิลำเนา รายได้ต่อเดือน แหล่งเงินทุนในการเรียน เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลาย (GPAX) สำนักวิชา ลักษณะหอพัก จำนวนสมาชิกร่วมห้องพัก ประวัติการได้รับวัคซีน COVID-19 ประสบการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ลักษณะการเรียนและความสามารถในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 347 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 283 คน (81.56%) เก็บข้อมูลออนไลน์โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยการส่ง QR-Code วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ t-test และ ANOVA เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยวิธี Least-Significant Difference (LSD)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยการปรับตัวในช่วง New normal ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในภาพรวมและรายด้าน (ด้านการเรียน สังคม อารมณ์และการเข้าร่วมกิจกรรม) อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่แตกต่างกันที่มีผลการปรับตัวของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ความสามารถในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองจาก COVID-19 ของนักศึกษา ประเภทของหอพัก (ห้องปรับ</p> <p>อากาศ, ห้องพัดลม) จำนวนสมาชิกร่วมห้องพัก (2, 3, 4 คน) ลักษณะการเรียน (On-site, on-line, on-site</p> <p>และ on-line) และรายได้ต่อเดือน โดยนักศึกษาที่มีความสามารถในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่แตกต่างกันมีการปรับตัวในภาพรวมและทุกด้านแตกต่างกัน นักศึกษาที่พักหอพักแตกต่างกันมีการปรับตัวในภาพรวมและด้านอารมณ์แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีจำนวนสมาชิกร่วมห้องพักแตกต่างกันมีการปรับตัวในด้านการเรียนแตกต่างกัน นักศึกษาที่มีลักษณะการเรียนแตกต่างกันมีการปรับตัวด้านอารมณ์แตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีการปรับตัวด้านการเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวในช่วง New Normal ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 รายได้ต่อเดือน รูปแบบการเรียน และจำนวนสมาชิกร่วมห้องในหอพัก</p> อธิราช รัตนบุรี เขมิกา พรหมรัตน์ โกเมนทร์ เอ้งฉ้วน พัชรพร ปิ้นทองพันธ์ ประภัสสร แวทไธสง ปนัสยา พหลภักดี ศศิธร พริกบางเข็ม นันทพร กลิ่นจันทร์ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 15 2 e260491 e260491 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนชนบทไทย: ประสบการณ์จากภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e266295 <p>ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนชนบทไทย: ประสบการณ์จากภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบการส่งเสริม ป้องกัน รักษาโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนชนบท อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก โดยกลุ่มตัวอย่างทีมสหสาขาวิชาชีพที่ทำงานรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของคนในชุมชนชนบท และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนชนบท ทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem และ PRECEDE Framework ของ Green ถูกนํามาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ใช้วิธีการแบบผสมโดยผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 200 คน ซึ่งสุ่มโดยวิธีจับฉลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชาชน สำหรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้กระบวนการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชาชน ตามกรอบแนวคิด PRECEDE Framework</p> <p>ผลการศึกษาสถานการณ์และปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล มี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยเสี่ยงและผู้ป่วยรายใหม่ 2) ระบบการป้องกันผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ 3) การมีส่วนร่วมและการเพิ่มศักยภาพของเครือข่าย และ 4) การใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ พบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาพรวม (ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการรับประทานยา) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยนำ (ความรู้ ทัศนคติ) ปัจจัยเอื้อ (การเข้าถึงสถานพยาบาล) และปัจจัยเสริม (เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุน ) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value &lt; .05) โดยปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเรื้อรังมากที่สุด คือ การเข้าถึงสถานพยาบาล รองลงมา คือ อายุ พฤติกรรม</p> <p>จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมการพัฒนาทั้งความรู้และทัศนคติในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควรมีเป้าหมายงานเชิงรุกทำงานแบบสหวิชาชีพที่ชัดเจนในระยะเวลาที่เหมาะสม ปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมในการศึกษาครั้งนี้ ควรพิจารณาตัวแปรอื่น ๆ ร่วมด้วย ตามบริบทของทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการเพื่อให้ก่อเกิดแรงสนับสนุนในการดูแลตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ</p> พนารัตน์ เจนจบ เกศราภรณ์ ชูพันธ์ ศรินยา พลสิงห์ชาญ นฤมล เอกธรรมสุทธิ์ สมาภรณ์ เทียนขาว สมตระกูล ราศิริ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 15 2 e266295 e266295 การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e263765 <p>การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหาเกี่ยวกับการจัดการโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุในชุมชน เทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ในการพัฒนารูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุในชุมชน โดยกำหนดขั้นตอนการศึกษา ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและความต้องการ 2) ระยะการศึกษาปัจจัยเงื่อนไข 3) ระยะการดำเนินการวิจัย 4) ระยะการติดตามและประเมินผล เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังเพื่อผู้สูงอายุโดยชุมชนมีความจำเป็นที่จะต้องจัดบริการทุกด้านควบคู่กันไป ประกอบด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การส่งเสริมความรู้เพื่อดูแลตนเองและครอบครัว 2) การจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโดยชุมชน/หมู่บ้าน 3) การจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโดยหน่วยบริการสุขภาพของรัฐ</p> <p> </p> กันนิษฐา มาเห็ม วรรณพร คำพิลา สุกัญญา รักศรี สายสุดา จันหัวนา ก้าน กุณะวงค์ เนตร์นวรี พาคำ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 15 2 e263765 e263765 ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัยที่มีต่อการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e261426 <p><strong> </strong>การพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเป็นสิ่งสำคัญของสถาบันการศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัยที่มีต่อการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 153 คน สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการเรียน สภาพแวดล้อมของวิทยาลัยพยาบาล และการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .90, .97 และ .99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี มีจำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านเพื่อน สภาพแวดล้อมด้านอาจารย์ พฤติกรรมในห้องเรียน (Beta = .163) พฤติกรรมนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมด้านหลักสูตร ตามลำดับ โดยสามารถร่วมกันทำนายการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ได้ร้อยละ 53.60</p> <p> ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีของนักศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน และสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะการสอนของอาจารย์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ</p> ศิริพร ครุฑกาศ พงษ์พินิต ไชยวุฒิ นงณภัทร รุ่งเนย สุจิรา วิเชียรรัตน์ สุดารัตน์ วันงามวิเศษ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 15 2 e261426 e261426 รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการบริหารจัดการระบบอาหาร และโภชนาการเพื่อส่งเสริมโภชนาการชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e267008 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการบริหารจัดการระบบอาหารและโภชนาการในชุมชน เพื่อส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของ 4 จังหวัด จำนวน 240 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 120 คน ได้แก่ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3) โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4) ภาคประชาชน เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการบริโภคผักและผลไม้ และแบบประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที (paired t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการเพื่อส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหาภาวะโภชนาการชุมชน 2) กำหนดเป้าหมายและความต้องการของชุมชน 3) ศึกษาทุนทางสังคมด้านอาหารของชุมชน 4) สร้างกระบวนการเชื่อมต่อเครือข่ายโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกลวิธีการสื่อสาร 5) ร่างแผนพัฒนาตำบลด้านอาหารและโภชนาการโดยทุกภาคส่วน 6) ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาเครือข่ายตามหลักการส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา และ 7) ผลลัพธ์ของรูปแบบ คือ ตำบลต้นแบบการจัดการอาหารและโภชนาการในชุมชน</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. หลังทำกิจกรรมตามรูปแบบ พบว่าเด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนมีการบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 น้ำหนักตามเกณฑ์อายุลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p>สรุปรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการบริหารจัดการระบบอาหารและโภชนาการในชุมชนเป็นรูปแบบที่สามารถช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ ศศิธร ชิดนายี อัมภิชา นาไวย์ พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน ศิริวรรณ ชูกำเนิด มาริสา สุวรรณราช วรางคณา บุตรศรี สะอาด มุ่งสิน ภิรมย์ ลี้สุวรรณ์ รัชนี ครองละวะ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 15 2 e267008 e267008 ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมกับทัศนคติ ในการเลือกบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 4 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e264527 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และทัศนคติในการเลือกบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 4 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม ต่อทัศนคติในการเลือกบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 4 ที่อยู่ในการดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้ง 15 แห่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 82 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 4 แบบประเมินการสนับสนุนของครอบครัวของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 4 และแบบประเมินทัศนคติในการเลือกบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วย ไตเรื้อรังระยะที่ 4 มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .81, .91 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Pearson’s correlation และ multiple stepwise linear regression</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. <span style="font-size: 0.875rem;">การรับรู้สมรรถนะของตนเองอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82.93 (𝑥̅= 29.30, SD =4.27) การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 85.37 (𝑥̅= 34.70, SD = 4.33) ทัศนคติในการเลือกบำบัดทดแทนไตอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 78.05 (𝑥̅= 88, SD = 11.39)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์พบว่าการรับรู้สมรรถนะของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .460, P&lt;.001) ทัศนคติในการเลือกบำบัดทดแทนไตกับการรับรู้สมรรถนะของตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .449, P&lt;.001) และทัศนคติในการเลือกบำบัดทดแทนไตกับการสนับสนุนทางสังคมความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .482, P&lt;.001) โดยพบว่าการได้รับการสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายทัศนคติในการเลือกบำบัดทดแทนไตได้ดีที่สุด ร้อยละ 23.2 (β=.349, p=.01) และการรับรู้สมรรถนะของตนเอง ร้อยละ 29.8 (β=.289, p=.01)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">ดังนั้นหากทีมสหสาขาวิชาชีพมีการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองและการสนับสนุนทางสังคม ทำให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 4 มีทัศนคติในการตัดสินเลือกบำบัดทดแทนไตที่ดีและอาจทำให้สามารถเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองได้</span></p> ปภัชญา ธัญปานสิน วาสนา กันคำ สมศรี ทาทาน วราภรณ์ ศรีจันทร์พาล Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 15 2 e264527 e264527 ปัจจัยทำนายภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e261649 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการร่วมทำนายของอายุ โรคร่วม ดัชนีมวลกาย ความผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ ความใกล้ชิดสนิทสนม และภาวะซึมเศร้าต่อภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดหรือรอผ่าตัด อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มีเพศสัมพันธ์กับคู่สมรสหรือคู่นอน ภายใน 2 เดือน ที่เข้ารับการตรวจติดตามการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคกลาง จำนวน 115 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านสุขภาพ แบบประเมินอาการเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ แบบสอบถามความใกล้ชิดสนิทสนม แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามการทำหน้าที่ทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 65.16 ปี (SD<strong> = </strong>6.57) ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 24.71 กก./ม.<sup>2</sup> (SD = 3.75) มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ร้อยละ 87.8 นอกจากนี้โรคร่วม ความผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะและภาวะซึมเศร้า สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตได้ ร้อยละ 16.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R<sup>2</sup> = .169, F = 7.529, p &lt;.001) โดยความผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายคะแนนสมรรถภาพทางเพศได้สูงสุด (β = -.258, p&lt;.05) (คะแนนสมรรถภาพทางเพศน้อยแสดงถึงภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ) รองลงมาคือ โรคร่วม (β = -.190, p &lt;.05) และภาวะซึมเศร้า (β = -.179, p &lt;.05) ตามลำดับ</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยและนำข้อมูลมาวางแผนการพยาบาล เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีและลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคร่วม ความผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะและภาวะซึมเศร้า โดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนและปรับรูปแบบการดูแลตนเอง</p> ทัตติยา ทองสุขดี สุพร ดนัยดุษฎีกุล ฐิติพงษ์ ตันคำปวน ธวัชชัย มั่นคงศรีสุข Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 15 2 e261649 e261649 ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติทางเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e267129 <p>งานวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนายในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติทางเพศและปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติทางเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4-6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 345 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติทางเพศ แบบประเมินรูปแบบการเลี้ยงดูของครอบครัว และแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้การสื่อสารทางเพศในครอบครัวซึ่งได้รับการตรวจคุณภาพเครื่องมือได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 - .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยายและสถิติสมการถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.35) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ มีทัศนคติทางเพศอยู่ในระดับดี (𝑥̅ =32.18, SD =2.36 คะแนนเต็ม = 40 คะแนน) และปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติทางเพศ ได้แก่ รูปแบบการเลี้ยงดูของครอบครัวและการรับรู้การสื่อสารทางเพศในครอบครัว ตัวแปรทั้ง 2 ตัว สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางเพศได้ ร้อยละ 33.80 อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ p &lt;.001 ดังนั้นในการเสริมสร้างทัศนคติทางเพศที่เหมาะสมให้แก่เด็กวัยประถมศึกษาตอนปลายบุคลากรทีมสุขภาพควรคำนึงถึงรูปแบบการเลี้ยงดูของครอบครัว และการสื่อสารทางเพศในครอบครัวร่วมด้วย</p> ดุจเดือน เขียวเหลือง สิตานันท์ ศรีใจวงศ์ กันตวิชญ์ จูเปรมปรี กาญจนาภา ศุภบูรณ์ พรกมล วิศว์วิสุทธิ์ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 15 2 e267129 e267129 การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) และความพร้อมในการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่เน้นผลลัพธ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e265165 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) และศึกษาความพร้อมในการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 ประเมินหลักสูตรโดยอาจารย์ผู้สอน 59 คน นักศึกษา 635 คน และพยาบาลพี่เลี้ยงในแหล่งฝึก 106 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินหลักสูตรเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้า กระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ และคุณภาพบัณฑิต ระยะที่ 2 ศึกษาความพร้อมในการใช้หลักสูตรของอาจารย์ผู้สอน จำนวน 51 คน โดยใช้แบบสอบถามความรู้ในหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) และแบบประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) เครื่องมือผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC อยู่ในช่วง .67 – 1.00 และความเที่ยงด้วยวิธีของ Cronbach alpha ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา .89 เก็บรวบรวมข้อมูลระยะที่ 1 ช่วงเดือนมีนาคม - สิงหาคม 2564 ระยะที่ 2 เดือนเมษายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า: 1. ผลการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับดี (𝑥̅ = 4.28, SD= .62) ด้านกระบวนการใช้หลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับดี (𝑥̅ =4.39, SD = .45) ด้านผลลัพธ์จากการใช้หลักสูตร 1) ผลลัพธ์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี 6 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับดี (𝑥̅ =4.36, SD= .58) โดยด้านคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ =4.52, SD = .55) 2) ผลลัพธ์ตามอัตลักษณ์บัณฑิตที่คาดหวังของหลักสูตร (1) ด้านการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ อยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ =4.58, SD = .39) (2) ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ =4.90, SD = .22) และ (3) ด้านการจัดการสุขภาวะชุมชน อยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ =4.87, SD= .22)</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ความพร้อมในการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่เน้นผลลัพธ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) อาจารย์ประเมินตนเองก่อนและหลังประชุมเชิงปฏิบัติการพบว่า (1) ความรู้ของอาจารย์ มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 3.38 (SD= .75) เป็น 4.84 (SD= .37) จากคะแนนเต็ม 5 และทุกคนมีคะแนนเพิ่มขึ้น (2) ประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระดับดี เป็นระดับดีมาก (𝑥̅ =3.63, SD=1.52 และ 𝑥̅ = 4.70, SD= .71) ตามลำดับ (3) ประเมินความพร้อมในการนำหลักสูตรไปใช้ มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง เป็นระดับดีมาก (𝑥̅ =3.36, SD = .93 และ 𝑥̅ = 4.69, SD = .77) ตามลำดับ</span></p> รุ่งกาญจน์ วุฒิ ปาริชาติ ตุลาพันธุ์ วินัย รอบคอบ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 15 2 e265165 e265165 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e262142 <p>การวิจัยเชิงบรรยายแบบเปรียบเทียบ (descriptive comparative research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 92 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบง่าย โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้และกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ กลุ่มละ 46 คน ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดพะเยา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของ ครอนบาค เท่ากับ .92 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับสูง (𝑥̅ = 108.07 SD=12.15 และ 𝑥̅ = 43.87 SD=2.75 ตามลำดับ) และกลุ่มตัวอย่างที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ (𝑥̅ = 90.11 SD=12.36) และพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 33.32 SD=4.96) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ามีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=7.03, p≤.000 และ t=12.61, p≤.000 ตามลำดับ)</p> <p>ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพื่อคงไว้ซึ่งการควบคุมระดับความดันโลหิตได้อย่างเหมาะสม</p> ลินยา เทสมุทร พัชรินทร์ สังวาลย์ จินตนา สมฤทธิ์ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 15 2 e262142 e262142 การประยุกต์ใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สีในการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: การทบทวนขอบเขตงานวิจัย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e267915 <p>การทบทวนขอบเขตงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเด็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการใช้ ลักษณะการนำไปใช้และผลลัพธ์ของการใช้ สืบค้นข้อมูลปี 2555- 2565 จากฐานข้อมูล ThaiJo, Google Scholar, PubMed, ScienceDirect, Scopus และ CINHAL มีงานวิจัยเพื่อพิจารณาบทความฉบับเต็ม 22 เรื่อง โดยวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีสุขภาพดีหรือเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง/เบาหวานมากที่สุด รองลงมาคือผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง วัตถุประสงค์การวิจัยส่วนใหญ่มีเป้าหมายในการพัฒนาแนวทางการดูแล/ศึกษาประสิทธิผลของแนวทางการดูแลสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ลักษณะการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี มี 3 ลักษณะ คือ 1) ใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองและจำแนกกลุ่มผู้ป่วย 2) ใช้เป็นเครื่องมือที่เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมหรือสื่อในการให้ความรู้ทางสุขภาพสำหรับประชาชน 3) ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย มาตรการและพัฒนาระบบการป้องกัน/ดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาปิงปองจราจรชีวิต 7 สีไปใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการวิจัยเพื่อพัฒนาปิงปองจราจรชีวิต 7 สีสำหรับคัดกรองโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น ไตวายเรื้อรังหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังคงมีความจำเป็นต่อไป</p> อัศนี วันชัย จิตติพร ศรีษะเกตุ วิชัย เทียนถาวร Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 15 2 e267915 e267915 ผลของโปรแกรมการดูแลพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคลโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ต่อความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า ต้นทุนชีวิต การปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง และ แรงสนับสนุนทางสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบนพื้นที่สูง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e248850 <p>เด็กวัยเรียนนับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต การมีภาวะสุขภาพที่ดี ความเป็นอยู่ที่ดีจะเห็นถึงศักยภาพความเป็นอยู่และเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศชาติ การวิจัยกึ่งทดลอง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคล โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า ต้นทุนชีวิต การปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง และแรงสนับสนุนทางคม ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบนพื้นที่สูงจำนวน 160 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 80 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และเครื่องมือในการทดลองคือโปรแกรมการดูแลพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคล มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อเท่ากับ .82 และ .84 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลก่อน-หลัง เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Mann Whitney U test ในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผลของโปรแกรมการดูแลพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคลหลังเข้าร่วมในกลุ่มทดลองมีการดูแลพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคลด้านความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า ด้านต้นทุนชีวิต ด้านการปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง และการได้รับแรงสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร และอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสามารถทำให้นักเรียนมีการดูแลพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคลที่ดีขึ้น</p> อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 15 2 e248850 e248850 ผลของโปรแกรมการดูแลอย่างต่อเนื่องต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e265631 <p>การวิจัยแบบอนุกรมเวลามีกลุ่มเปรียบเทียบ (Interrupted time series design with a comparison group) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลอย่างต่อเนื่องต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยที่โรงพยาบาลแพร่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยและมีความเสี่ยงในระดับปานกลางและสูงที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแพร่ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการดูแลอย่างต่อเนื่อง 2) คลิปวิดีโอ 3) คู่มือการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้ 1 และ 4) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย หาค่าความเที่ยงได้ .92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบ Wilcoxon และ Friedman</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการดูแลต่อเนื่อง ในสัปดาห์ที่ 1, 4 และ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ผู้ดูแล ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 1, 4 และ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> <p>ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการดูแลอย่างต่อเนื่องสามารถเพิ่มการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลหลังจำหน่ายในสัปดาห์ที่ 1, 4 และ 6 ซึ่งบุคลากรทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องไปประยุกต์ใช้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยเพื่อปรับปรุงคุณภาพของการพยาบาลให้เพิ่มขึ้นได้</p> จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์ ศิริกาญจน์ จินาวิน หทัยกาญจน์ บางศรี วาสนา สุขกันต์ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 15 2 e265631 e265631 ความรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อทักษะการสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สถาบันพระบรมราชชนก เขตสุขภาพที่ 1 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e262154 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และทักษะการสื่อสารสุขภาพ และ 2) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 - 4 และระดับความรู้ ระดับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ในเขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 4 วิทยาลัย ได้มาโดยการสุ่มแบบอัตราส่วน จำนวน 719 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบวัดความรู้เรื่องโรคโควิด-19 เป็นแบบถูกผิด แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบวัดทักษะการสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87, .91, และ .89, ตามลำดับ สถิติเชิงพรรณนาใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA)</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ระดับความรู้และทักษะการสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 อยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. นักศึกษาชั้นปีต่างกันมีทักษะการสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. นักศึกษาที่มีความรู้เรื่องโควิด-19 ต่างกันมีทักษะการสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">5. นักศึกษาที่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ต่างกันมีทักษะการสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </span></p> กนกวรรณ เอี่ยมชัย ดลนภา ไชยสมบัติ พัชรบูรณ์ ศรีวิชัย Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 15 2 e262154 e262154 การพัฒนาโปรแกรมการสร้างทักษะดูแลสุขภาพทางเพศ และพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศในวัยเจริญพันธุ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e268052 <p>การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาโปรแกรมและเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างทักษะการดูแลสุขภาพทางเพศและพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศในวัยเจริญพันธุ์ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 3 การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่ 1 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนและตัวแทนผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง พยาบาลวิชาชีพและนักเรียน จำนวน 21 คน ขั้นตอนที่ 2 นักเรียนชายและหญิงในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีอายุระหว่าง 13-15 ปี จำนวน 120 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบสองกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่าการใช้รูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการฝึกทักษะในการปฏิบัติพฤติกรรม เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาโปรแกรม โดยควรเสริมความรู้ให้แน่น&nbsp; ปรับเปลี่ยนทัศนคติด้วยการสร้างแรงจูงใจ&nbsp; เสริมสร้างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง เสริมกิจกรรมเปิดใจพ่อแม่พูดคุยเรื่องเพศกับลูก 2) โปรแกรมประกอบด้วยขั้นตอนการให้ข้อมูลข่าวสาร ขั้นตอนการสร้างแรงจูงใจ และขั้นตอนการสร้างทักษะในการปฏิบัติพฤติกรรม โดยใช้เวลา 7 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง 3) ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรม พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 1 และ 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลสุขภาพทางเพศและพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่าหลังได้รับโปรแกรม 1 และ 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลสุขภาพทางเพศและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ</p> <p>การมีส่วนร่วมของครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญในการในการแก้ไขปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น หากครอบครัวเปิดใจพูดคุยเรื่องเพศกับวัยรุ่นร่วมกับการเสริมความรู้ การสร้างแรงจูงใจ &nbsp;และฝึกทักษะเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทางเพศและการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาในวัยรุ่นเข้ามาช่วยหนุนเสริม จะนำไปสู่การลดลงของการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และการติดเชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่นอย่างยั่งยืนต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> สิตานันท์ ศรีใจวงศ์ ดุจเดือน เขียวเหลือง ปฐพร แสงเขียว สืบตระกูล ตันตลานุกูล Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 15 2 e268052 e268052 ประสบการณ์ของผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูงผ่านทางจมูกหลังถอดท่อช่วยหายใจ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e257799 <p>วิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยายปรากฏการณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูงผ่านทางจมูกหลังถอดท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 12 ราย ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แนวทางการสัมภาษณ์แบบ กึ่งโครงสร้างได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการของจอร์จี</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์ของผู้ป่วยวิกฤตที่อยู่ภายใต้การรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูงผ่านทางจมูกหลังถอดท่อช่วยหายใจ ประกอบด้วย 1) ความสุขสบาย ผู้ป่วยวิกฤตรู้สึกสุขสบายเพราะพวกเขาปราศจากความเจ็บปวดจากการใส่ท่อช่วยหายใจและรู้สึกหายใจได้สะดวกระหว่างใช้ออกซิเจนอัตราไหลสูง 2) ความไม่สุขสบาย คือ มีอาการแสบร้อนจมูก 3) อยู่กับความกลัวและกังวล ผู้ป่วยวิกฤตมีความกลัวและกังวลว่าอาการที่ตนเองเป็นอยู่จะแย่ลงและการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ และ 4) การกำกับดูแล ผู้ป่วยวิกฤตต้องการการกำกับดูแลเกี่ยวกับปัญหาและภาวะแทรกซ้อนของการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราไหลสูง</p> <p>จากผลการวิจัยสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลสำหรับผู้ป่วยวิกฤตและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดการอาการสำหรับผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูงผ่านทางจมูก และการพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่อยู่ภายใต้การรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูงผ่านทางจมูกโดยคำนึงถึงปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยวิกฤต</p> ยูงทอง นาทมนตรี วัชรา ตาบุตรวงศ์ Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 15 2 e257799 e257799 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับบริการยาเคมีบำบัดที่บ้านและผู้ดูแลในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e266036 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและศึกษาคุณภาพชีวิตเชิงลึกของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับบริการยาเคมีบำบัดที่บ้านและผู้ดูแลในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 71 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ จำนวน 35 คน และผู้ดูแล จำนวน 36 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ =80.60, SD=13.52) เช่นเดียวกับผู้ดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง (𝑥̅ =94.40, SD=15.20 ตามลำดับ) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถทำกิจวัตรประจำวันและปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ สัมพันธภาพภายในครอบครัวและสังคมเป็นปกติ โดยเฉพาะด้านจิตใจทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลรู้สึกสบายและอบอุ่นใจที่ได้อยู่ที่บ้าน สิ่งแวดล้อมที่บ้านมีความคุ้นเคย สะดวก สบายในการดำรงชีวิต ยกเว้นด้านร่างกายของผู้ป่วยที่มีความทุกข์ทรมานบ้างเมื่อมีอาการแทรกซ้อนของยาเคมีบำบัด เช่น ปวดบริเวณผิวหนังที่ให้ยาเคมีบำบัด ผื่นแพ้และท้องเสีย แต่ผู้ป่วยก็สามารถจัดการภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้</p> <p>ข้อเสนอแนะผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่บ้านมีคุณภาพชีวิตค่อนข้างดี ดังนั้นการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่บ้านจึงควรเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่</p> <p> </p> ศรีสุดา งามขำ ปรัศนี ศรีกัน ดาราวรรณ รองเมือง พิเชต วงรอต Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 15 2 e266036 e266036 การพัฒนาแบบวัดความงอกงามทางใจหลังเผชิญเหตุการณ์วิกฤติในเด็กยากไร้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/e262293 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความงอกงามทางใจหลังเผชิญเหตุการณ์วิกฤติในเด็กยากไร้ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กยากไร้ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แห่งหนึ่งในภาคใต้ 200 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความงอกงามทางใจหลังเผชิญเหตุการณ์วิกฤติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบวัด และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัยพบว่าแบบวัดความงอกงามทางใจหลังเผชิญเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามปฏิบัติการอยู่ระหว่าง .66 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อจากการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมระหว่าง .35 – .70 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 และมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยพิจารณาจากความเที่ยงตรงแบบลู่เข้า และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าโมเดลการวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (= 113.85, df = 118, p-value = .59, GFI = .94, AGFI = .91, CFI = 1.00, SRMR = .04, RMSEA = .00, CN = 265.78) แบบวัดประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ มีข้อคำถามทั้งหมด 19 ข้อ ดังนั้นแบบวัดที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม มีความน่าเชื่อถือและสอดคล้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินความงอกงามทางใจหลังเผชิญเหตุการณ์วิกฤติของเด็กยากไร้หลังเผชิญเหตุการณ์วิกฤติได้ต่อไป</p> รมิดา มหันตมรรค นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์ อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล Copyright (c) 2023 วิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 15 2 e262293 e262293