การประเมินนวัตกรรมชุมชนของโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ : กรณีศึกษา ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

Main Article Content

ไฟศอล มาหะมะ
พงค์เทพ สุธีระวุฒิ
ซอฟียะห์ นิมะ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินรูปแบบนวัตกรรมชุมชนที่เกิดขึ้น และปัจจัยที่ทำให้เกิดนวัตกรรม ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกจากคณะทำงานโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 10 คน ใช้แบบสัมภาษณ์และแนวคำถามสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือ ใช้การทบทวนเอกสารรายงาน การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มในการเก็บข้อมูล


ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า เกิดนวัตกรรมชุมชน 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบสิ่งประดิษฐ์ได้แก่ ลานกะลาเคลื่อนที่และยางยืด 2) รูปแบบกลไกได้แก่ สภาซูรอและกลุ่มสตรี 3) รูปแบบแหล่งเรียนรู้ได้แก่ แปลงเกษตร ทั้งสามรูปแบบมีระดับนวัตกรรมเป็นการประยุกต์จากพื้นที่อื่นมาใช้ในพื้นที่ ปัจจุบันมีการนำทั้ง 3 นวัตกรรมชุมชนไปใช้ภายในชุมชนและมีการยกระดับอย่างต่อเนื่อง มีปัจจัยด้านบริบทที่ทำให้เกิดนวัตกรรม คือวัฒนธรรมมุสลิมและสังคมแบบเครือญาติ ปัจจัยนำเข้าคือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ และการมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง ปัจจัยด้านกระบวนการ พบว่ามีกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มโครงการโดยเฉพาะการร่วมวางแผนและมีกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง ข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงการที่จะให้เกิดนวัตกรรมชุมชน ควรจะจัดกระบวนการให้ชุมชนเข้าใจและสนับสนุนให้ชุมชนสามารถยกระดับนวัตกรรมเป็นแบบที่เป็นสิ่งใหม่ของชุมชนที่ไม่ใช่เฉพาะการประยุกต์จากพื้นที่อื่นมาใช้เท่านั้น และควรคำนึงถึงบริบทแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ฉบับสมบูรณ์.กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ธเนศ ขำเกิด. (2552). การสร้างสรรค์ความรู้ตามทฤษฎี Constructionism. วารสารเทคโนโลยี
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น.
พงค์เทพ สุธีรวุฒิ. (2557). คู่มือร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่. สงขลา : สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตา
พับลิเคชั่น.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย: นวัตกรรมการทางานขององค์กรปกครองท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อ
การเป็น ผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 33(128), 49-65.
สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ : รายงานการประชุม
ระดับโลกเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.
อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์. (2559). ชุมชนเข้มแข็งสร้างกรุงเทพฯ ยั่งยืน : ตัวชี้วัดและบทเรียน
ความสำเร็จของชุมชน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์), 8(15), 182-194.
K.E. Abernethy , O. Bodin b, P. Olsson b, Z. Hilly และ A. Schwarz. (2014). Two steps
forward, two steps back: The role of innovation in transforming towards
community-based marine resource management in Solomon Islands.
Global Environmental Change.
Sonali K. Shah and Nikolaus Franke (2001). How community matters for user
innovation : the open source of sports innovation. Cambridge, Mass:
[Alfred P. Sloan School of Management, Massachusetts Institute of
Technology].
เรืองเดช วงศ์หล้า. (2560). รูปแบบการพัฒนาด้านงานวิชาการเพื่อใช้สังคมแบบบูรณาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
วริศรา สมเกียรติกุลและกมล เรืองเดช. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน
เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษา ชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล.
เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.