การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์เพื่อการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

สุพิชชา โชติกำจร
นิพนธ์ เพชระบูรณิน

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยใช้ Data Envelopment Analysis (DEA) 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้มีความเข้มแข็งตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 282 กลุ่ม โดยใช้แบบสอบถาม


          ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการกลุ่มต้องมีใจเป็นกลางและสมาชิกผู้กู้ต้องชำระเงินคืนตรงตามระยะเวลาที่กำหนด  ตลอดจนการสร้างกิจกรรมโดยเน้นให้เกิดการเรียนรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตในชุมชน นอกจากนี้ หากคณะกรรมการกลุ่มมีวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนและปรับใช้เศรษฐกิจพอเพียงในบริหารงาน ก็จะส่งผลทำให้กลุ่มออมทรัพย์มีความเข้มแข็ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีระชน สุขประเสริฐ. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กรณีศึกษา
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในเขตเทศบาลตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุจิราพร หงษ์ทอง. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการดาเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัด
นครสวรรค์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 111-120.

วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล. (2551). หนี้สินของเกษตรกรในชนบทไทย. สืบค้น 7 มิถุนายน 2560,
จาก www.km.nida.ac.th/home/images/pdf/7-1.pdf

ศานติกร พินยงค์ และสุธิดา สองสีดา. (2561). แนวทางการดำเนินการกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชนที่มี
ประสิทธิภาพ กรณีศึกษากลุ่มสวัสดิการร้านค้าชุมชนบ้านทุ่งสีหลง ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม
จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 13(2), 65-76.

สุคนธ์ ชูทิพย์. (2547). การวิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดี
ของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2561). ตลาดทุน : แหล่งเงินทุนของระบบ
การเงินระดับฐานราก. สืบค้น 9 มิถุนายน 2561,จาก www.sec.or.th/TH/MarketDevelopment/
Documents/marketdev_microfinance.pdf

สำนักงานคลังจังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). รายงานข้อมูลจำนวนผู้มีบัตรสวัสดิแห่งรัฐของจังหวัดเพชรบูรณ์
ปี พ.ศ.2561. เอกสารอัดสำเนา.

สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์. (2559). ข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. สืบค้น 9 มิถุนายน 2559,
จาก https://phetchabun.cdd.go.th/home/index.php?option=com_content&view=
article&id=390:sde&catid=71:2012-05-21-11-29-36&Itemid=66

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) พ.ศ.2560. สืบค้น
27 กรกฎาคม 2561, จาก https://phetchabun.cdd.go.th/home/index.php?option=com_
content&view=article&id=1014:dfge&catid=75:2012-05-21-11-32-17&Itemid=128

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การออมภาคครัวเรือนไทย ปี พ.ศ. 2560. สืบค้น 2 สิงหาคม 2561,
จาก https://web.facebook.com/NSOOFTHAILAND/posts/1656945547689932/?_rdc=1&_rdr

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). บัญชีประชาชาติ. สืบค้น 21 สิงหาคม 2561,
จาก www.nesdb.go.th/main.php?filename=national_account

สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561).
หนี้สินของครัวเรือนที่ยากจน. สืบค้น 12 กันยายน 2561,จาก https://social.nesdb.go.th/
SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=695&template=2R3C&yeartype=O&subcatid=67

อารีย์ เชื้อเมืองพาน. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพึ่งตนเอง
ทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Charnes, A., W.W. Cooper, A.Y. Lewin, and L. M. Seiford. (1995). Data Envelopment Analysis:
Theory. Methodology and Applications Kluwer Academic Publishers, Boston.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper
and Row Publication.