กลไกการสร้างความเข้มแข็งและความต้องการทางด้านสวัสดิการชุมชนเมือง สำหรับผู้สูงอายุ

Main Article Content

แสน กีรตินวนันท์
เพชร รอดอารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รูปแบบในการพึ่งพาตนเองและความต้องการทางด้านสวัสดิการชุมชนเมืองสำหรับผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษากลไกในการสร้างความเข้มแข็งของสวัสดิการชุมชนเมืองสำหรับผู้สูงอายุและความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุภายในชุมชนซอยโซดา ชุมชนท่าน้ำสามเสน ชุมชนสวนอ้อย เขตดุสิต โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์กลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ แล้วนำมาวิเคราะห์ในลักษณะการบรรยาย จากการวิจัยพบว่ากลไกของทั้งสามชุมชนได้แก่ 1) กลุ่มผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็งและวิสัยทัศน์ในการพัฒนา 2) เครือข่ายความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกชุมชน โดยเครือข่ายภายในชุมชนได้แก่ ระบบเครือญาติและ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) กลุ่มอาสาป้องกันพลเรือน (อปพร.) หรือกลุ่มจิตอาสาต่างๆ ภายในชุมชนเมืองทั้งสาม ขณะที่เครือข่ายความสัมพันธ์ภายนอกชุมชนได้แก่ เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายภาคการศึกษาและเครือข่ายภาคเอกชน 3) วันสำคัญต่างๆ ที่ทำให้สมาชิกชุมชนทั้งหลายได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนอย่างพร้อมเพรียง


จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุทั้งสามชุมชนมีความต้องการที่มีความใกล้เคียงกัน ทางด้านสาธารณสุขและสุขภาพ ด้านจิตใจของผู้สูงอายุ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเงินและรายได้ ซึ่งจากการวิจัยครั้งนี้นำมาซึ่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยภาครัฐควรมีการกำหนดทิศทางแผนการพัฒนาผู้สูงอายุ อันมีชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่งมีกลไกต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น อีกทั้งควรมีการสนับสนุนทีมวิชาการกลางของภาครัฐเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการ โดยให้จิตอาสาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างกิจกรรมหรือประโยชน์ให้แก่ชุมชนแต่ละชุมชน จนเกิดความสามัคคีในชุมชน เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในชุมชนเมืองมักเป็นผู้ว่างงาน รับจ้างหรือค้าขายเล็กน้อยอยู่ภายในชุมชนจึงมีเวลาว่าง ดังนั้นหากสร้างกิจกรรมที่เกิดประโยชน์และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนหรือสังคมส่วนรวม จะทำให้ผู้สูงอายุทั้งหลายกลับมาตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและมีความสุขมากยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิลและนุชนาฎ ยูฮันเงาะ. (2544). กลไกบริหารสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

จิณณ์ณิชา พงษ์ดี และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2558). ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยของแก่น, 3(4), 561-576.

บังอร ธรรมศิริ. (2549). ครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารการเวก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์, 2(2), 47-56.

สมศักดิ์ ศรีสันติกุล. (2550). สังคมวิทยาชนบท: แนวคิดทางทฤษฎีและแนวโน้มในสังคม. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

แสน กีรตินวนันท์. (2558). กลไกการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนชาวจีน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 11(2), 383-398.

Lawton, M.P. The Quality of Daily Life among Elderly Care Recivers. The Journal of Applied Gerontology. Vol 14, 2(1995): 150-171.

World Health Organization. (2002). Active Aging, A Policy Framework. A Contribution of The World Health Organization to the Second United Nation World Assembly on Ageing, Madrid, Spain, April.