การเปรียบเทียบธาตุผสม และคุณสมบัติเชิงกลระหว่างแร่เหล็กน้ำพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์ และแร่เหล็กตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

Main Article Content

อดุลย์ พุกอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้ทำการสืบค้นแหล่งแร่น้ำพี้ที่พบในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และแหล่งแร่เหล็กตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน  จังหวัดเลย ได้มีการสำรวจ การขุดแร่ แร่ที่ได้นำทดสอบค่าปริมาณร้อยละของเหล็ก (Fe) ทางเคมี  พบว่า  แร่เหล็กน้ำพี้มีธาตุเหล็ก (Fe) เท่ากับ 68.40 แร่เหล็กเหล็กตำบลบุฮม อำเภอเชียงคานมีธาตุเหล็ก (Fe)  เท่ากับ 67.10 โดยการนำแร่ที่ขุดได้มาย่อยแร่  และการถลุง โดยใช้เตาแบบผสมผสานวิธีการแบบโบราณ และขึ้นรูปแท่งโดยวิธีการตีขึ้นรูป  พบว่า เหล็กน้ำพี้มีน้ำหนัก  0.95  กิโลกรัม เหล็กตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน มีน้ำหนัก  1.4  กิโลกรัม  ชิ้นทดสอบของเหล็กทั้ง 2 แหล่งนำมาทดสอบปริมาณธาตุผสม พบว่า ค่าปริมาณธาตุคาร์บอน (C) ของเหล็กน้ำพี้มีร้อยละ 0.0358 จึงทำให้เหล็กมีความเหนียว   สามารถขึ้นรูปได้ดี  นำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ได้ แต่ขาดคุณสมบัติด้านการชุบแข็งที่ดี   เช่นเดียวกับเหล็กตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน ซึ่งมีค่าคาร์บอนที่ไม่ต่างกันมาก  ส่วนค่าปริมาณซิลิคอน (Si) ธาตุแมงกานิส (Mn)  และธาตุโครเมียม (Cr)  ของเหล็กน้ำพี้ที่มีมากกว่าเหล็กตำบลบุฮม  อำเภอเชียงคาน  ทำให้มีประสิทธิภาพด้านคุณสมบัติเชิงกลที่ดีกว่า และที่สำคัญในธาตุทองแดง (Cu) เหล็กน้ำพี้มีมากถึงร้อยละเฉลี่ย 0.102  ทำให้เหล็กน้ำพี้ทนต่อการกัดกร่อนที่ดี  ผลที่เกิดจากการหาปริมาณธาตุผสมนี้  ทำให้แร่เหล็กทั้ง 2 แหล่ง  มีความสามารถในการใช้งานเชิงกลของเหล็กที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อดุลย์ พุกอินทร์, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 27 ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000

Science and Technology

References

Peters, B., Hoffmann, F. (2016). Iron ore reduction predicted by a discrete approach.
Chemical Engineering Journal, 304, 692–702.

Puk-in, A. (2016). Development of Nam Phi Steel Quality from Newly Smelted Nam Phi Steel.
Research. Uttaradit Rajabhat University.

Adul Phuk-in. (2018). Development of Nam Phi Iron Ore smelter from local knowledge to find
engineering properties. Asia-Pacific of Science and Technology, 23(3), 1–7.

Puk-in, A. (2015). Investigation of Nam Phi Steel Production Process in the Past and Present for
Finding Mechanic Properties of Nam Phi Steel in Nam Phi Sub-District, Thong Saen Khan
District, Uttaradit Province. Research. Uttaradit Rajabhat University.

Dong, F., Guangwu, T., Yongfu, Z., John, D. A., Chenn, Q. Z., (2016). Modeling of iron ore
reactions in blast furnace. International Journal of Heat and Mass Transfer 103, 77–86.

Watcharathawornsak, S, Puk-in, A. (2015). Study on Comparison of Engineering Properties of Nam
Phi Steel. Academic Journal of Faculty of Industrial Technology, Lampang Rajabhat University
1, 92-105.

History of iron ore smelting. (2017). Shropshire History. Retrieved May 15, 2017,
from https://shropshirehistory.com.

Jutilapthaworn A. (2009). Constructing of Kiln and Nam Phi Steel Smelting. Research.
Srinakharinwirot University.

Puk-in A. (2016). Development of Nam Phi Steel Quality from Newly Smelted Nam Phi Steel.
Research. Uttaradit Rajabhat University.

Pahlevaninezhad, M., Emami, M.D., Panjepour, M. (2016). Identifying major zones of an iron ore
sintering bed. Applied Mathematical Modelling, 40, 8475–8492.

Taengjuang S.,2006. Steel Smelting Methods of Nam Phi Steel. Research. Uttaradit Rajabhat
University.

Adul Phuk-in. (2018). Thai local Nam Phi iron ore and furnace smelting combined with sustained
ancient method. วารสารวิศวกรรมสาร ฉบับวิจัยและพัฒนา, 29(4), 77–87.

อดุลย์ พุกอินทร์. (2561). การเปรียบเทียบธาตุผสม และคุณสมบัติเชิงกลระหว่างเหล็กน้ำพี้ และแร่เหล็กที่พบ
ในจังหวัดอุตรดิตถ์. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏกรุงเก่า มหาวิทยาลัยราชภัพระนครศรีอยุธยา
อยุธยา, 2(1), 519 – 524.