พฤติกรรมการมีภูมิคุ้มกันตนในการบริโภคสินค้าแฟชั่น ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

กิตติมา ชื่นชาติ
พิมพวรรณ คุ้มภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีภูมิคุ้มกันตนของผู้บริโภคสินค้าแฟชั่นภายใต้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรได้แก่ นักศึกษาเพศหญิงระดับอุดมศึกษา ภายในจังหวัดนครสวรรค์อายุ 18 - 25 ปี ที่กำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยภาคกลาง จำนวนทั้งสิน 14,160 คน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้จํานวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า Match Paired T-test ค่า Chi-Square ค่า Pearson Correlation

ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาจำนวนร้อยละ 50.3 มีความรู้ความเข้าใจด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับสูงจะมีพฤติกรรมการมีภูมิคุ้มกันตนอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อพิจารณาการมีภูมิคุ้มกันตนต่อสินค้า แฟชั่น พบว่า ร้อยละ 52.8 อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 46.3 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งนักศึกษาที่มีระดับ ความรู้ความเข้าใจด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์กับนักศึกษาที่มีระดับพฤติกรรมการมีภูมิคุ้มกันตน และมีผลต่อพฤติกรรมการมีภูมิคุ้มกันตนต่อสินค้าแฟชั่นทางสถิติที่ระดับ .05

การศึกษานี้สามารถนำเสนอแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันได้ว่า เราควรมีภูมิคุ้มกันต่อ สิ่งกระตุ้นและสิ่งเร้าต่างๆมีเหตุผลในการใช้จ่าย พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน

 

Consumer’s Self-immunity Behavior for Fashion Products Based on Sufficiency Economy Philosophy in Nakhon Sawan Province

This research aims to investigate the self-immunity concept of consumer’s purchasing behavior on fashion items under the philosophy of sufficient economy. The sample were 400 university students from Nakhon Sawan Province; concretely from Nakhon Sawan Rajabhat University, Chaopraya University and The University of Central Thailand. The data was collected through questionnaires and analyzed using frequency, mean, standard deviation, chi-square, Pearson Correlation and Match Paired T-test.

The results can be summarized as follows: 1) 50.3 % of the subjects showed a high knowledge and understanding of the philosophy and sufficient economy concept. At the same time, 74.3 % of the sample showed a high self-immunity concept against purchasing behavior. 2) The self-immunity concept against purchasing behavior on fashion items resulted particularly high with 46.3% of the sample showed high and 52.8% moderate levels. The results also reveal that students who comprehend the sufficient economy concept have a higher self-immunity and tend to purchase necessities only. The students with knowledge and understanding of the philosophy of sufficient economy concept have mostly a moderate self-immunity concept of purchasing behavior but without self-immunity concept of purchasing behavior on fashion items with statistical significance at .05 level. Moreover, the results showed that the students with high understanding of the Sufficiency Economy Philosophy are more resilient against consumerism and therefore are self-immune in the same direction.

Finally, this research provides path to a more conscious consumerism. Therefore trying to reinforce the self-immunity stimulus, also presented as a tool to future adaptation for economical sustainability.

Article Details

บท
บทความวิจัย