ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อความสำนึกขอบคุณของนิสิตปริญญาตรี

Main Article Content

ณัฏฐนิช เจริญวรชัย
ดลดาว ปูรณานนท์
ระพินทร์ ฉายวิมล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อความสำนึกขอบคุณของนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตปริญญาตรี ปีการศึกษา 2557  มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 18 คน โดยใช้แบบประเมินความสำนึกขอบคุณและการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง วิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม (Repeated Measures Variance : One Between-Subjects Variable and One Within-Subjects Variable) และวิธีทดสอบรายคู่แบบบอนเฟอร์โรนี (Bonferroni Procedure)

ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตปริญญาตรีที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางมีคะแนนความสำนึกขอบคุณสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางมีคะแนนความสำนึกขอบคุณในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Effects of Person-centered Group Counseling on Gratitude of Undergraduate Students

The purpose of this research was to study the effects of a person-centered theory group counseling on gratitude of undergraduate students. Participants were 18 second-year students of Burapha University, Chonburi in 2014. The instruments were The Gratitude Resentment and Appreciation Test and The Person-centered Theory Group Counseling Program. Analyzing through repeated-measure analysis of variance: one between-subjects and one within-subjects, including pair comparison through the Bonferroni Procedure.

The results revealed that there was a statistically significant interaction between the method and the duration of the experiment. At the pretest, posttest and the follow-up phrases, the mean scores of gratitude of the undergraduate students in the experimental group were higher than the control group’s scores at .05 levels. The mean scores of gratitude of the undergraduate students in experimental group at the post-test and the follow-up phrase were significantly higher than the pre-test phrase at .05 levels.

Article Details

บท
บทความวิจัย