การพัฒนาความมั่นคงทางอารมณ์ของวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว โดยการปรึกษากลุ่มทฤษฎี เน้นทางออกระยะสั้น

Main Article Content

ทรงศรี สารภูษิต
เพ็ญนภา กุลนภาดล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น ต่อความมั่นคงทางอารมณ์ของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว อายุระหว่าง 12-15 ปี และมีความมั่นคงทางอารมณ์อยู่ในระดับต่ำถึงค่อนข้างต่ำและสมัครใจเข้าร่วมทดลอง จำนวน 16 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความมั่นคงทางอารมณ์ และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น เก็บข้อมูลดำเนินการในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและวิธีทดสอบรายคู่แบบบองเฟอร์โรนี

ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 วัยรุ่นที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นมีคะแนนความมั่นคงทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวัยรุ่นที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นมีคะแนนความมั่นคงทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Development of Emotional Stability in Adolescents from Single Parent Families through Solution Focused Brief Group Counseling Theory

The purpose of this research was to study the effect of the solution focused brief group counseling theory on emotional stability of adolescents.Sixteen adolescents from single parent families of Piboonbumpen Demonstrative School in 2014 were volunteered to participate in this study. The participants were those adolescents who had the emotional stability scoreat low to very low level. The participants were randomly assigned into two groups (the experimental group and the control group), eight adolescents for each group. The instruments employed in this study wereEmotional stability Assessment Scale and Solution Focused Brief Theory Group Counseling Program. Data were collected in three phases: pre-test, post-test, and follow-up. The obtained data was analyzed through repeated-measure analysis of variance: one between-subjects and one within-subjects, including pair comparison through the Bonferroni Procedure.

The results revealed that there was a statistically significant interaction between the method and the duration of the experiment. At the post-test and the follow-up phrases, the mean scores of the emotional stability of adolescents in the solution focused brief group counseling theory was higher than the control group’s scores at .05 level. The mean scores of the emotional stability of adolescents in the solution focused brief group counseling theory at post-test and follow-up phrase were significantly higher than the pre-test phrase at .05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย