ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ การสื่อสารกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการทำธุรกิจกับสหกรณ์การเกษตร ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี: กรณีศึกษาสหกรณ์ที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่ามาตรฐาน

Main Article Content

วันทอง คงคาพันธ์
นลินี ทองประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ ปัจจัยด้านการสื่อสารกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการทำธุรกิจกับสหกรณ์การเกษตรและเพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการทำธุรกิจกับสหกรณ์การเกษตรจำแนกตามเพศอายุ อาชีพ ระดับการศึกษารายได้เฉลี่ยต่อเดือนระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่ามาตรฐานสหกรณ์จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบค่า F และการวิเคราะห์ค่าสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า  ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ และปัจจัยด้านการสื่อสารมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการทำธุรกิจกับสหกรณ์การเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกที่มีเพศอาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการเป็นสมาชิกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสมาชิกสหกรณ์ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

 

Impact of Cooperative Knowledge and Communication Factors on Member’s Participation to Conduct a Business With Agricultural Cooperative in Ubonratchathani Province : a Case Study of a Below Standard Cooperative

The objective of this research is to study the impact of agriculture cooperative knowledge and communication factor on members’ participation and to comparison a participated level of a member to conduct a business with agriculture cooperative based on gender ages, education levels, income, and membership period. A sample of the study concentrates on 400 members of agriculture cooperative in UbonRatchathani Province which have below standard performance cooperative. Basing on information from questionnaires, statistic analyses used in the research are percentage, mean, standard deviation, t-test statistic, F-test statistic, and Pearson’s correlation coefficient.

The results illustrates that both agriculture cooperative knowledge and communication factors have high positive relationship with members’ participation in doing a business with agriculture cooperative by having the statistical significance at 0.01 level. In addition, difference of gender, occupation, income, and membership period give different opinions on the participated levels in conducting a business with the cooperative by having the statistical significance at 0.01 levels. Moreover, the members who have different education levels raise different point of views in conducting a business with agriculture cooperative presented by 0.05 level of statistical significance value.

Article Details

บท
บทความวิจัย