การรับรู้ความยุติธรรมของการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในองค์การมหาชน: กรณีศึกษาสถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

Main Article Content

อัจฉราภัทร์ เขมอัครเจตต์
รัตนา ศิริพานิช
วุฒิชาติ สุนทรสมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การรับรู้ความยุติธรรมของการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในองค์การมหาชนศึกษากรณี: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)”4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การรับรู้ความยุติธรรม ประกอบด้วย ด้านกระบวนการกำหนดค่าตอบแทน กระบวนการประเมิน ระบบการประเมิน และการมีปฏิสัมพันธ์ส่วนที่ 2 ความผูกพันต่อองค์การประกอบด้วยด้านจิตใจ ด้านความมั่นคงและด้านบรรทัดฐานทางสังคม ส่วนที่ 3 เปรียบเทียบการรับรู้ความยุติธรรมและความผูกพัน และส่วนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานจำนวน 215 คนผลการวิจัยพบว่า ด้านการรับรู้ความยุติธรรมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน พนักงานได้รับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เป็นไปตามที่คาดหวัง ด้านความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับปานกลาง พนักงานมีความภาคภูมิใจและรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์การและพร้อมที่จะปฏิบัติงานอยู่ในองค์การจนกว่าจะเกษียณอายุงาน ด้านตำแหน่งงานของพนักงานมีการรับรู้ความยุติธรรมและความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกันตามตำแหน่งงาน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมกับความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์กันในทางบวก

The perception of performance appraisal organizational justice on the commitment of employee in public organization: a case study of the institute for the promotion of teaching science and technology

 

This research is about the perception of the fairness evaluation of the performance of an organization that affects organizational commitment of employees in public organization: In case of the Institute for Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). It consists of 4 parts: (1) the fairness recognition includes the remuneration process, the evaluation process, and

the interaction; (2) the organizational commitment includes mental, stability, and the social norms; (3) the comparative of justice awareness and bond; (4) the relationship between the justice awareness and organizational commitment of employees. There are 215 participants. The research found that the justice awareness is at medium level for every aspect. Employees are treated following to the expectations. In addition, the organization commitment is at medium level as well. Employees are proud that they are as a part of the organization and ready to work in the organization until retirement. Moreover, the job position of the employees who have justice awareness and organizational commitment is different depending on job position, and the relationship between justice awareness and organizational commitment which are related in a positive way.          

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อัจฉราภัทร์ เขมอัครเจตต์, สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

-

References

-