เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • ผลงานที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
  • ผลงานที่ส่งตีพิมพ์ในลักษณะบทความวิจัยต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  • ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงาน หรือข้อความในลักษณะอื่นใดมาใช้ในบทความ รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • ผู้นิพนธ์ต้องส่งแบบฟอร์ม “ขอส่งบทความวิชาการ/บทความวิจัย เพื่อรับพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้เขียน”
  • ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
  • ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี)
  • ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
  • สามารถส่งต้นฉบับบทความวิชาการ (Academic Article) และบทความวิจัย (Research Article) ได้ทั้ง ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
  • ต้นฉบับต้องผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
  • ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • กรุณาแจ้ง ชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์มือถือของท่านไว้ใน ข้อความถึงบรรณาธิการ (Comments for the Editor) เพื่อสำหรับวารสารจะได้ติดต่อประสานงานเร่งด่วนเท่านั้น

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความส่งตีพิมพ์

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

             วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ Academic Journal Uttaradit Rajabhat University ISSN 2985-2986 (Online) เว็บไซต์ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/index เป็นวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานวิจัย ที่ให้ความสำคัญในด้านการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ทุกระดับ โดยผลการวิจัยนั้นต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ สามารถขยายผลความสำเร็จไปยังพื้นที่อื่น หรือให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยดำเนินการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ในระบบ Thai Journal Online System  ซึ่งมีกำหนดการออกเผยแพร่ราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม ทั้งนี้บทความทุกฉบับจะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยจำนวน 3 ท่าน ในลักษณะการประเมินแบบ Double-Blind เพื่อให้ผู้เขียนสามารถเตรียมต้นฉบับได้ถูกต้องและได้มาตรฐานตามรูปแบบของวารสาร จึงขอชี้แจงดังนี้

 

รายการตรวจสอบการเตรียมบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้เขียนจะต้องตรวจสอบการปฏิบัติตามรายการต่อไปนี้

  1. ผลงานที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
  2. ผลงานที่ส่งตีพิมพ์ในลักษณะบทความวิจัยต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  3. ผู้นิพนธ์ต้องส่งแบบฟอร์ม “ขอส่งบทความวิชาการ/วิจัย เพื่อรับพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์”
  4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียนฯ”
  5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
  6. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี)
  7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
  8. สามารถส่งต้นฉบับบทความวิชาการ (Academic Article) และบทความวิจัย (Research Article) ได้ทั้งภาษา อังกฤษ และภาษาไทย
  9. ต้นฉบับต้องผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
  10. ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร

 

การเตรียมต้นฉบับบทความ

แนะนำให้ผู้นิพนธ์ ดาวน์โหลดเทมเพลต Research Article Template (บทความวิจัย) หรือ Academic Article Template (บทความวิชาการ) ที่ เอกสารดาวน์โหลด สำหรับวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

1. ความยาวของบทความไม่เกิน 12 หน้ากระดาษ ขนาด A4 พิมพ์หน้าคู่ (นับรวมภาพ ตาราง และเอกสาร อ้างอิง) พื้นที่ของกระดาษที่ใช้พิมพ์ ให้เว้นขอบบน 3.81 เซนติเมตร ขอบล่าง 2.54 เซนติเมตร ขอบซ้าย 3.81 เซนติเมตร และขอบขวา 2.54 เซนติเมตร จัดพิมพ์ด้วยแบบตัวอักษร TH SarabunPSK โดยเนื้อความขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวธรรมดา)

2. ชื่อเรื่องบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดกึ่งกลาง หน้ากระดาษ

3. ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวอักษรปกติ) จัดชิดขวา

4. ชื่อสังกัดหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ Corresponding Author, E-mail: ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวอักษรปกติ) จัดชิดขวา

5. หัวข้อ ได้แก่ บทคัดย่อ Abstract บทนำ วัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย ไม่ใส่เลขลำดับที่

6. การใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) ทวิภาค ( : ) และอัฒภาค ( ; ) ให้พิมพ์ต่อเนื่องกับอักษรตัวหน้า และ เว้น 1 วรรคตัวอักษรก่อนข้อความต่อไป เช่น

Community engagement in higher education: Policy reforms and practice

(ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2562; ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ, 2564)
7. ภาพ หมายเลขภาพ ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวหนา) ให้ระบุไว้ใต้ภาพ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ภาพ

8. การอ้างอิงท้ายบทความไม่เกิน 15 รายการอ้างอิง

9. รายการของเอกสารอ้างอิงภาษาไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ต้องเติมคำว่า “(in Thai)” ต่อท้ายทุกรายการของ

เอกสารอ้างอิงภาษาไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ

ส่วนประกอบของบทความ

1. ชื่อเรื่องบทความ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ควรกะทัดรัดไม่ยาวจนเกินไป มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2. ชื่อผู้เขียนและหน่วยงานที่สังกัด (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ระบุเฉพาะชื่อ และสกุล โดยใส่เครื่องหมาย ดอกจัน (*) เฉพาะผู้รับผิดชอบบทความ สถานที่ทำงาน (Affiliation) ระบุหน่วยงาน จังหวัด ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับผู้แต่งอีเมล (E-mail Address) ระบุเฉพาะผู้รับผิดชอบบทความและควรเป็นอีเมลของหน่วยงาน

3. บทคัดย่อ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 400 คำ คำสำคัญ (Keywords) 3-5 คำ (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)

4. ส่วนเนื้อหา

4.1 บทความวิจัย ควรเป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ข้อค้นพบ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยได้

ดำเนินการมาอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนของการวิจัย โดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อหรือ องค์ประกอบที่แตกต่างได้)

      4.1.1 บทนำ (Introduction) ครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย

      4.1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) ข้อความที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่นักวิจัยต้องการศึกษา ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และรายงานผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้

      4.1.3 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ให้ระบุรูปแบบวิจัย (Research Design) อธิบายเครื่องมือและวิธีการดำเนินการวิจัยให้กระชับและชัดเจนให้บอกรายละเอียดสิ่งที่นำมาศึกษา สูตรและการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา (เกณฑ์การคัดเข้า คัดออก) การสุ่มตัวอย่าง ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา คุณภาพของเครื่องมือ วิธีหรือมาตรที่ใช้ในการวัด วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

      4.1.4 ผลการวิจัย (Results) บรรยายสรุปผลการวิจัยอย่างกระชับโดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย หากการวิจัยเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่ต้องนำเสนอด้วยตาราง หรือแผนภูมิ ควรมีคำอธิบายประกอบ การเรียงลำดับภาพ ตาราง หรือแผนภูมิควรเรียงลำดับตามเนื้อหาของงานวิจัย และต้องมีการแปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์

      4.1.5 อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เขียนสอดคล้องกับลำดับของการนำเสนอสรุปผลการวิจัย เป็นการวิพากษ์ วิจารณ์ผลการวิจัยที่ได้สอดคล้องหรือขัดแย้งกับสมมติฐาน มีการอ้างอิงข้อเท็จจริง ทฤษฎี และผลการวิจัยอื่นอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแนวความคิดของผู้วิจัยต่อผลการวิจัยที่ได้

      4.1.6 สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ (Conclusion and Suggestions) ควรสรุปสาระสำคัญที่ไม่คลุมเครือ และสรุปผลว่าตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือไม่ อย่างไร รวมถึงการแสดงข้อเสนอแนะและความเห็นเพิ่มเติมเพื่อการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ และการพัฒนางานต่อไปในอนาคต หรือเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

      4.1.7 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) เป็นการแสดงคำขอบคุณสำหรับแหล่งทุนสนับสนุน หรือผู้ช่วยเหลืองานวิจัย 

      4.1.8 เอกสารอ้างอิง (Reference) การแสดงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกนำมาอ้างอิงขึ้นมาใช้ในการวิจัย เพื่อเป็นการแสดงเจตนาว่าไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง การเขียนอ้างอิงให้เป็นไปตามรูปแบบที่วารสารกำหนดแบบ APA (American Psychological Association) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7

4.2 บทความวิชาการ ควรมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน โดยมีการวิเคราะห์ประเด็นที่ต้องการนำเสนอตามหลักวิชาการ โดยมีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้ส่งบทความแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน มีลำดับเนื้อหาและบทสรุปที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน ประกอบด้วย

      4.2.1 บทนำ (Introduction) หลักการและเหตุผล (Rationale) ความเป็นมาหรือภูมิหลัง (Background) ความสำคัญของเรื่องที่เขียน (Justification) วัตถุประสงค์ของการเขียนในการที่จะสื่อไปยังผู้อ่าน คำจำกัดความ หรือนิยามต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

      4.2.2 เนื้อเรื่อง (Body) การจัดลำดับเนื้อหาสาระ การเรียบเรียงเนื้อหา การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ การใช้ภาษา วิธีการนำเสนอ

      4.2.3 ส่วนสรุป (Conclusions) บทความทางวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ของบทความนั้น ซึ่งอาจกระทำในลักษณะการย่อโดยการเลือกประเด็นสำคัญ ๆ ของบทความมานำเสนออย่างกระชับท้ายบทความ

 

การเขียนเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสาร ควรอ้างอิงจากผลงานวิชาการต่าง ๆ ที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ สำหรับวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิง The American Psychological Association (APA, 7th Edition) ประกอบด้วยการอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) และการอ้างอิงท้ายบทความ (Reference) โดยมีรูปแบบดังนี้

 

การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation)

การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และหมายเลขหน้า (การอ้างอิงบทความวารสาร หรือรายงานการประชุมต้องระบุหมายเลขหน้า สำหรับการอ้างอิงผลงานจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องระบุหมายเลขหน้า) สำหรับรูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาสามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้

1. กรณีอ้างอิงท้ายข้อความ (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์, เลขหน้า)

(สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2549, น. 27)

(McCartney & Phillips, 2006, p. 204)

(Murphy, 2021, pp. 152-153)

(Martin et al., 2020)***กรณีที่มีผู้แต่ง 3 คน หรือมากกว่า***

ตัวอย่างประโยค

จากการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก และสภาพของปัจจุบันนี้นั้น ทำให้สภาพแวดล้อมของการพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบัน และในอนาคต 20 ปีภายหน้าเปลี่ยนไป ในส่วนบริบทของประเทศไทยได้มีการกำหนด ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาคนไทยในอนาคตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นพลเมืองที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ มีจิตสาธารณะ และทำประโยชน์ต่อส่วนรวม (ปรเมธี วิมลศิริ, 2559, น. 3)

2. กรณีมีการระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหา ผู้แต่ง (ปีพิมพ์)

ลดาพร บุญฤทธิ์ (2559) ได้ศึกษาถึง………………

Boonsarngsuk (2020) studied……………….  

ตัวอย่างประโยค

เบล (Bell, 2016, p. 55) กล่าวถึงการจัดศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในมุมมอง ของการพัฒนาพลเมืองที่มีความรับผิดชอบอย่างยั่งยืนนั้น ต้องมีทักษะสำหรับการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน (Skills for living in the world) ได้แก่..............

3. การอ้างอิงรายการเดียวกันแต่ที่มีผู้แต่งแตกต่างกัน ให้เรียงตามอักษรของผู้แต่งคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค ( ; ) กรณีที่งานทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศถูกอ้างพร้อมกัน ให้เริ่มที่งานเขียน ภาษาไทยก่อน

Several studies (Kozak & Elliott, 2014, p. 5; Miller, 1999)

(ภุชพงศ์ โนดไธสง, 2560; อำนวย วีรวรรณ, 2540)
(อนุชาติ บุนนาค, 2549; Digital citizenship for college students, 2016)

4. กรณีการอ้างอิงเอกสารที่ไม่ใช่เอกสารต้นฉบับ ให้ระบุชื่อเอกสารต้นฉบับและ คำว่า “อ้างอิงใน” สำหรับภาษาไทย หรือ “as cited in” สำหรับภาษาอังกฤษตามด้วยชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิ และปีพิมพ์ สำหรับการลงรายการอ้างอิงท้ายเล่ม ลงชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิเท่านั้น

                 (นิพัทธ์ เลิศณรงค์, 2531, น. 53-75, อ้างถึงใน พักตร์วิภา โพธิ์ศรี, 2551, น. 94-95)

                 (Miller, 1988, as cited in Kozak & Elliott, 2014, p. 8)

                 Bridget’s diary (as cited in Rahnama, 2017)

5. การอ้างอิงการสัมภาษณ์ ซึ่งอาจเป็นบันทึก บทสนทนาทางโทรศัพท์ หรือเอกสารอื่น ๆ รวมทั้งการสัมภาษณ์ที่ไม่ได้อ้างอิงมาจากแหล่งอื่น (สัมภาษณ์เอง) ไม่ต้องระบุในเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม แต่ให้ระบุในเนื้อหาโดย ระบุชื่อสกุลของ เจ้าของเอกสาร หรือ ผู้ถูกสัมภาษณ์ และวันที่ให้สัมภาษณ์ให้ถูกต้อง เช่น

เจษฎา มิ่งฉาย (สัมภาษณ์, 18 เมษายน 2563) ให้ความเห็นว่า...........
คาฟท์ (Karft, สัมภาษณ์, 28 กันยายน 2564) กล่าวว่า.........

6. การอ้างอิงบางส่วนของเอกสาร ให้ระบุชื่อผู้แต่ง ปี และข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร เช่น ย่อหน้า บท ตาราง ภาพ หมายเลขสไลด์ เช่น

                 (ภาสุดา ภาคาผล, 2556, ย่อหน้า 4)

                 (Delve & Mintz, 2019, Table 1)

                 (National Council for the Social Studies, 2000, Slide 8)

                 (Kauffman, 2000, paras. 2-3)

การอ้างอิงท้ายบทความ (Reference)

            ข้อกำหนดในการเขียนเอกสารอ้างอิง

1. ชื่อผู้แต่ง

                 1.1 ผู้แต่งคนไทย ไม่ต้องระบุคำนำหน้านาม ตำแหน่งทางวิชาการ คำเรียกทางวิชาชีพ และตำแหน่งยศต่าง ๆ

ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์

ลงรายการเป็น

ไพฑูรย์ สินลารัตน์.

ร้อยตำรวจเอก วินัย ซื่อสัตย์

ลงรายการเป็น

วินัย ซื่อสัตย์.

แพทย์หญิงลดาพร บุญฤทธิ์

ลงรายการเป็น

ลดาพร บุญฤทธิ์.

                 1.2 ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ลงนามสกุลตามด้วยเครื่องจุลภาค และต่อด้วยอักษรย่อของ ชื่อต้น และชื่อรอง

A. W. Chickering

ลงรายการเป็น

Chickering, A. W.

Prairie Leigh Burgess

ลงรายการเป็น

Burgess, Prairie Leigh.

Cecilia I. Delve

ลงรายการเป็น

Delve, Cecilia I.

                 1.3 ผู้แต่งชาวไทยที่เขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษ จะลงรายการผู้แต่งโดยใช้นามสกุล ขึ้นต้นเหมือนผู้แต่งชาวต่างประเทศ

Chanokphat Phadungath

ลงรายการเป็น

Phadungath, C.

                 1.4 ผู้แต่งมีฐานันดรศักดิ์และบรรดาศักดิ์ ให้กลับฐานันดรศักดิ์ หรือบรรดาศักดิ์ ไว้หลังชื่อโดยมี เครื่องหมายจุลภาคคั่น

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้ามหาจักรี สิรินธร

ลงรายการเป็น

เทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร, กรมสมเด็จพระ

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

ลงรายการเป็น

เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว.

คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์

ลงรายการเป็น

พรทิพย์ โรจนสุนันท์, คุณหญิง

                 1.5 ผู้แต่งมีสมณศักดิ์ ให้ลงชื่อสมณศักดิ์ และถ้าทราบชื่อเดิมให้ใส่ไว้ในวงเล็บต่อจากชื่อสมณศักดิ์

พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน).

พระราชรัตนรังสี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ).

                 1.6 ผู้แต่งคนเดียวกัน แต่งหนังสือหลายชื่อเรื่องและพิมพ์ในปีเดียวกัน ถ้าเป็นภาษาไทย ให้ใส่ อักษร ก, ข, ค, ง ไว้ท้ายปีที่พิมพ์ตามลาดับส่วนภาษาอังกฤษ ให้ใส่อักษร a, b, c, d ไว้ท้ายปีที่พิมพ์

ทิศนา แขมมณี. (2557ก).

(Oxford University, 2019b)

                 1.7 จำนวน และประเภทผู้แต่ง

รูปแบบ

การอ้างอิงในเนื้อหา

การอ้างอิงท้ายบทความ

ผู้แต่ง 1 คน

(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560, น. 17)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติฉบับ         

           ปรับปรุง. สำนักงานฯ.

(Biech, 2015)

Biech, Elaine. (2015). 101 Ways to make learning active beyond

           the classroom. John Wiley & Sons.

ผู้แต่ง 2 คน

(สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และกาญจนา ภูครองนาค, 2555, น. 22-23)

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และกาญจนา ภูครองนาค. (2555). การศึกษาวิเคราะห์

          ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตตปัญญา

          ศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

(Chickering & Reisser, 1993)

Chickering and Reisser (1993)

Chickering, A. W. & Reisser, L. (1993). Educational and identity

          (2nd ed.). Jossey-Bass.

ผู้แต่ง 1-20 คน

ระบุชื่อทุกคน

***ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น และคำว่า และ ก่อนคนสุดท้าย

(ภาสกร เนตรทิพย์วัลย์ และคนอื่น ๆ, 2563)

ภาสกร เนตรทิพย์วัลย์, พรพรรณ ภูสาหัส, สมสุข ภาณุรัตน,์

          สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล, พัชรี กระจ่างโพธิ์, และวิถี ธุระธรรม.

          (2563). การประเมินภาวะสุขภาพสำหรับพยาบาล: การตรวจ

          ร่างกาย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิมพ์ดีการพิมพ์.

Jacob et al. (2015) หรือ

(Jacob et al., 2015)

Jacob, W. James, Sutin, Stewart E., Weidman, John C., & Yeager,

          John L. (2015). Community engagement in higher

          education. Sense.

ผู้แต่ง 21 คนขึ้นไป ระบุชื่อ 19 คนแรก และใช้ . . .  ตามด้วยชื่อคนสุดท้าย โดยหน้าและหลังแต่ละจุดต้องเว้นวรรค 1 ระยะ 

 

 

 

ขนิษฐา นันทบุตร และคนอื่น ๆ (2563, น. 25)

หรือ

(ขนิษฐา นันทบุตร และคนอื่น ๆ,2563, น. 25)

 

ขนิษฐา นันทบุตร, พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย, จงกลณี จันทรศิริ, นิลภา จิระ

          รัตนวรรณะ, สุคนธ์ วรรธนะอมร, แสงเดือน แท่งทองคํา, กชพร

          สิงหะหล้า, กติกา นวพันธุ์, กนกพร จิรัฐติกาลวงศ์, กนกพร

          จิวประสาท, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, กนกพร อัศวเมธิกาพงศ์,

          กมลวรรณ จุติวรกุล, กมลวรรณ ตังธนกานนท์, กรรณิกา ชําธรรม,

          กรรณิการ์ มุรทาธร, กรองทอง วงศ์ศรีตรัง, กรีวุธ อัศวคุปตานนท์,

          กฤติน กุลเพ็ง, . . . พัฒนา นาคทอง. (2563). ชุดความรู้การพัฒนา

          กลไกและการพัฒนาระบบ สุขภาพชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน. ดีดี.

(Miller, 2018, p. 10)

Miller, T. C., Brown, M. J., Wilson, G. L., Evans, B. B., Kelly, R. S.,

          Turner, S. T., Lewis, F., Lee, L. H., Cox, G., Harris, H. L.,

          Martin, P., Gonzalez, W. L., Hughes, W., Carter, D.,

          Campbell, C., Baker, A. B., Flores, T., Gray, W. E., Green,

          G., . . . Nelson, T. P. (2018).

ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (2562)

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). การรู้

          ดิจิทัล. สำนักงานฯ.

ผู้รับผิดชอบเป็นบรรณาธิการ

(วิชัย วงษ์ใหญ่ (บ.ก.)., 2553)

วิชัย วงษ์ใหญ่ (บ.ก.). (2553). กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร. โอ

          เดียนสโตร์.

(McKinney et al. (Eds.), 2018)

McKinney, E. S., Nelson, K. A., & Ashwill, J. W. (Eds.). (2018). Maternal-child nursing. (5th ed.). Elsevier.

2. ปีพิมพ์

                 2.1 ระบุปีพิมพ์ในเครื่องหมายวงเล็บตามหลังชื่อผู้แต่ง และปิดด้วยด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ( . )

สุภาภรณ์ เกียรติสิน. (2562). 

Sherman, Chad D. (2011).

                 2.2 หนังสือที่อยู่ในระหว่างการพิมพ์ ให้ลงคำว่า กำลังจัดพิมพ์ หรือ in press ในเครื่องหมายวงเล็บแทนปีพิมพ์

(กำลังจัดพิมพ์). 

(in press).

                 2.3 หนังสือที่ไม่ปรากฏปีพิมพ์ ใส่อักษรย่อในเครื่องหมายวงเล็บแทนปีพิมพ์

(ม.ป.ป.).

แทนคำเต็มจาก

ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์

(n.d.).

แทนคำเต็มจาก

no date

3. ครั้งที่พิมพ์

                 3.1 หนังสือที่พิมพ์ครั้งที่ 1 หรือพิมพ์ครั้งแรก ไม่ต้องระบุในรายการอ้างอิง

                 3.2 หนังสือที่พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไปใส่ครั้งที่พิมพ์ต่อจากชื่อเรื่อง โดยระบุครั้งที่พิมพ์ในเครื่องหมายวงเล็บและตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค

(พิมพ์ครั้งที่ 2).

(2nd ed.).

(พิมพ์ครั้งที่ 4).

(4th ed.).

4. สำนักพิมพ์

                 4.1 ระบุชื่อสำนักพิมพ์ที่ปรากฏบนผลงาน พิจารณาให้สอดคล้องกับปีพิมพ์และครั้งที่พิมพ์ โดยไม่ใช้ชื่อย่อ ให้ตัดคำว่า สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน จำกัด บริษัท หรือ คำว่า Publishers, Co., และ Inc. ซึ่งไม่จำเป็นต้องระบุ แต่ให้คงคำว่า Books คำว่า Press ในชื่อของสำนักพิมพ์ไว้

สำนักพิมพ์สารคดี

ลงรายการเป็น

สารคดี.

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลงรายการเป็น

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 

ลงรายการเป็น

ซีเอ็ดยูเคชั่น.

John Wiley & Sons., Inc.

ลงรายการเป็น

John Wiley & Sons.

Oxford University Press

ลงรายการเป็น

Oxford University Press.

SAGE Publishing

ลงรายการเป็น

SAGE.

                 4.2 กรณีไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์ ให้ใส่โรงพิมพ์แทนโดยให้คงคำว่าโรงพิมพ์ไว้

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cambridge University Press.

                 4.3 หากไม่ปรากฏทั้งชื่อสำนักพิมพ์ และโรงพิมพ์ ให้ใช้อักษรย่อดังนี้

ม.ป.พ.

แทนคำเต็มจาก

ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์

n.p.

แทนคำเต็มจาก

no publisher

 

การอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ

1. หนังสือ

ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป). สํานักพิมพ์.

            ตัวอย่าง

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2559). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง = Civic education. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์

            เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน). (2554). นิพพานคือนิพพาน. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.

วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ และศิวพร ปกป้อง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการกระทำความรุนแรงทั้งทางกายภาพ

            และการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทย. ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศ

            ไทย.

สุภาภรณ์ เกียรติสิน. (2562). การเข้าใจดิจิทัลกับพลเมืองไทย (Digital literacy in 21st). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

Douglass, Paul, & McMahon, Alice. (1960). How to be an active citizen. University of Florida Press.

Munck, Ronaldo, McIlrath, Lorraine, Hall, Budd, & Tandon, Rajesh (Eds). (2014). Higher education and

            community-based research: Creating a global vision. Palgrave Macmillan.

 

2. หนังสือแปล

ชื่อผู้แต่งต้นฉบับ. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่องที่แปล [ชื่อต้นฉบับ] (ชื่อผู้แปล, ผู้แปล). สำนักพิมพ์ (ต้นฉบับพิมพ์ ปี ค.ศ. หรือ พ.ศ.).

            ตัวอย่าง

เกรย์, เจ. (2552). ผู้ชายมาจากดาวอังคารผู้หญิงมาจากดาวศุกร์ [Men are from mars, women are from venus]

            (สงกรานต์ จิตสุทธิภากร, ผู้แปลและเรียบเรียง). (พิมพ์ครั้งที่ 26). ซีเอ็ดยูเคชั่น.

บริกแฮม, อี. เอฟ., และฮุสตัน, เจ. เอฟ. (2544). การจัดการการเงิน [Fundamentals of financial management] (เริงรัก

            จำปาเงิน, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 2). บุ๊คเน็ท. (ต้นฉบับพิมพ์ ปี ค.ศ. 2001).

 

3.หนังสือที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ และสำนักพิมพ์

ผู้แต่ง. (ม.ป.ป. หรือ n.d.). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป). ม.ป.พ. หรือ n.p.

            ตัวอย่าง

วิจารณ์ พานิช. (2558). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง = Transformative learning. ม.ป.พ.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (ม.ป.ป.). หลักการอุดมศึกษา. วัฒนาพานิช.

Astin, Alexander W. (1993). What matters in college. n.p.

Kolb, D.A. (n.d.). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. SAGE.

 

4. รายงานการวิจัย

ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (รายงานการวิจัย). สำนักพิมพ์.

            ตัวอย่าง

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2564). การเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม (Service learning) (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการ

            การศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Hoechsmann, Michael, & Dewaard, Helen. (2015). Mapping digital literacy policy and practice in the

            Canadian education (Research report). University of Toronto Press.

 

5. บทความในหนังสือ

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ในหรือ In ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds.), ชื่อเรื่อง (น. หรือ p.

            หรือ pp. เลขหน้า). สำนักพิมพ์.

            ตัวอย่าง

ณัฐพล ปัญญโสภณ.  (2554).  มุมมองของนักศึกษานิเทศก์ศาสตร์ต่อกระบวนการผลิตละครเพื่อการสื่อสาร. ใน

            ชนัญชี ภังคานนท์ (บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก (น. 23-24).

            มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุรพันธ์ สิทธิสุข. (2563). การสัมภาษณ์ประวัติ. ใน วิทยา ศรีดามา (บ.ก.), การสัมภาษณ์ประวัติ และตรวจร่างกาย

            (พิมพ์ครั้งที่ 12, น. 1-7). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gray, J. R. (2021). Discovering the world of nursing. In R. G. Jennifer, K. G. Susan (Eds.), Burns & Grove’s the

            practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (9th ed., pp. 1-18).

            Elsevier.

Sinnaeve, G. (2010).  Use of near infrared spectroscopy for the determination of internal quality of entire

            apples.  In S. Saranwong, S. Kasemumran, W. Thanapase, & P. Williams (Eds.), Near infrared

            spectroscopy: Proceedings of the  international conference (pp. 255-259). IMP.

 

6. วารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้า. DOI หรือ URL

            ตัวอย่าง

ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ในผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิ

            ปริทัศน์, 24(72), 103-119.

Plows, J. F., Stanley, J. L., Baker, P. N., Reynolds, C. M., & Vickers, M. H. (2018). The pathophysiology of

            gestational diabetes mellitus. International journal of molecular sciences, 19(11), 3342.

            https://doi.org/10.3390/ijms19113342

Siriwongworawat, S. (2003). Use of ICT in Thai libraries: An overview. Program: Electronic Library and

            Information Systems, 37(1), 38-43.

Tandra, R., Sahai. A., & Veeralli, V. (2011). Unified space-time metrics to evaluate spectrum sensing. IEEE

            Communication Magazine, 49(3), 54-61. https://ieeexplore.ieee.org/document/5723800

 

7. หนังสือพิมพ์

ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์, วันเดือน). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, น. หรือ p. หรือ pp.เลขหน้า. หรือ URL

            ตัวอย่าง

เฉลิมพล พลมุข. (2557, 20 ตุลาคม). จุดยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. มติชน, น. 21.

ปรับยุทธศาสตร์ “ราชภัฏ” สู่การพัฒนาท้องถิ่น. (2560, 4 สิงหาคม). กรุงเทพธุรกิจ, น. 15.

อว.ชู"วิศวกรสังคม"ทำงานในชุมชนได้ทุกมิติ. (2563, 20 กรกฎาคม). เดลินิวส์.

            https://www.dailynews.co.th/education/785949

Boonnoon, J. (2011, April 28). Manufacturers flood Thai market. The Nation, p. 11.

 

8. วิทยานิพนธ์และปริญญานิพนธ์

ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง [ระดับวิทยานิพนธ์, ชื่อสถาบัน]. ชื่อฐานข้อมูล หรือ URL

            ตัวอย่าง

จอย ทองกล่อมสี. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทย ตามหลักธรรมาภิบาล

            [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35693

เสาวนีย์ คงนิรันดร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัย

            บูรพา]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

Burgess, Prairie Leigh. (2011). Understanding how institutional leadership affects civic engagement on

university campuses [Doctoral dissertation, University of Arkansas]. https://scholarworks.uark.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1079&context=etd&httpsredir=1&referer

Harris, L. (2014). Instructional leadership perceptions and practices of elementary school leaders

            [Unpublished doctoral dissertation]. University of Virginia. **กรณีวิทยานิพนธ์และปริญญานิพนธ์ไม่เผยแพร่หรือ Unpublished

Worawalai. W. (2014). α-Glucosidase inhibitors from N-substituted aminocyclitol derivatives and total

            synthesis of CJ-16,264 [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University]. https://bit.ly/3sGuBFh

 

9. เอกสารการประชุมวิชาการ การนำเสนอบทความ การนำเสนอโปสเตอร์ ผลงานการประชุมสัมมนา (Conference Sessions and Presentation)

ผู้แต่ง.(ปี, เดือน วัน). ชื่อผลงาน [ประเภทผลงาน]. ชื่อการประชุม, เมือง, ประเทศ. URL

            ตัวอย่าง

ทิศนา แขมมณี. (2557, 6-8 พฤษภาคม). ปลุกโลกการสอนให้มีชีวิตสู่ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่ [การนำเสนอบทความ]. การประชุมวิชาการอภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย, สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

พัชราภา ตันติชูเวช. (2566, 20 เมษายน). การศึกษาทั่วไปกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ศึกษาโดยเปรียบเทียบกับประเทศไทย [การนำเสนอบทความ].  การประชุมวิชาการระดับชาติเนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 23 สมศ. “2ทศวรรษแห่งการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษา”, สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

De Boer, D., & Lafavor, T. (2018, April 26-29). The art and significance and successfully identifying resilient individuals: A person-focused approach. In A. M. Schmidt & A, Kryvanos (Chairs), Perspectives on resilience: Conceptualization, measurement, and enhancement [Symposium]. Western Psychological Association 98th Annual Convention, Portland, OR, United States.

Fistek, A., Jester, E., & Sonnenberg, K. (2017, March 30-April 2). Everybody’s got a little music in them: Using music therapy to connect, engage, and motivate [Conference session]. Autism Society National Conference, Milwaukee, WI, United Sates. http://asa.confex.com/asa/2017/webprogramaschives/Session9517.html

Pearson, J. (2028, September 27-30). Fat talk and its effects on state-based body image in woman [Poster presentation]. Australian Psychological Society Congress, Sydney, NSW, Australia. http://bit.ly/2XGSThP

 

10. กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งหรือผู้รับผิดชอบ

            ให้นำชื่อบทความ หรือชื่อเรื่องแทนตำแหน่งของผู้แต่งหรือผู้รับผิดชอบ จากนั้นเรียงตามรูปแบบของเอกสารที่อ้างอิง

            ตัวอย่าง

ICDL ยกระดับไอทีไทย สู่มาตรฐานสากล. (2559). นิตยสารดิจิทัล เอจ. 207, 38-40.

ย้อนคดีเชอรี่แอน “แพะในตำนาน” 17 ปี คดีประวัติศาสตร์ จ่าย 26 ล้านไถ่บาป “ตำรวจ”ยื้อจนสุดทาง.

            (2560, มกราคม 12). มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์. https://www.matichonweekly.com/scoop/article_20990.

The bluebook: A uniform system of citation (20th ed.). (2015). Harvard Law Review Association.

Researchers replicate famous marshmallow test, make new observations. (2018, May 25). Medical Xpress.

            https://medicalxpress.com/news/2018-05-replicate-famous-

            marshmallow.html?utm_source=tabs&utm_medium=link&utm _campaign=story-tabs

 

11. เว็บไซต์

ผู้แต่ง. (ปี, วัน เดือนที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง. ชื่อเว็บไซต์. URL

            ตัวอย่าง

ชัชวาล วงค์สารี. (2566, 2 เมษายน). มโนทัศน์เกี่ยวกับผู้สูงอายุและหลักการพยาบาลผู้สูงอายุ [PowerPoint slides]. SlideShare. https://bit.ly/3ok6Voz

สมหมาย ปาริจฉัตต์. (2567, 28 มนาคม). หลักสูตรการศึกษาถูกล็อค. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/article/news_4493411

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2554, 27 เมษายน). การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา. จุฬาวิทยานุกรม

            (Chulapedia). http://www.chulapedia.chula.ac.th=การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา

American Psychological Association. (n.d.). APA style: Learning APA style.

            https://apastyle.apa.org/learn/index?tab=2

Forbes, Scott H. (n.d.). Socially responsible education. http://holistic-education.net/articles/soc-resp.pdf

Hoechsmann, Michael, & Dewaard, Helen. (2015). Mapping digital literacy policy and practice in the Canadian education. Retrieved November 10, 2019, from https://mediasmarts.ca/sites/mediasmarts/files/publication-report/full/mapping-digital-literacy.pdf.

Science. (2018, December 31). First footage of deep-sea anglerfish pair [Video]. Facebook.

            https://bit.ly/3uOGOZl

Stafford, T. (2018, January 3). The backfire effect is elusive. Mind Hacks.

            https://mindhacks.com/2018/01/03/the-backfire-effect-is-elusive/

 

การนำเสนอภาพและตาราง

            การนำเสนอภาพและตารางประกอบเนื้อหาในบทความ ผู้นิพนธ์ต้องพิจารณาแล้วเห็นว่าภาพและตารางนั้นสัมพันธ์กับเนื้อหา โดยการแทรกภาพและตารางต้องมีการเกริ่นเพื่อนำไปสู่ภาพ และตารางเสมอ โดยมีรายละเอียดดังนี้

            ภาพ

            ผู้เขียนบทความสามารถนำเสนอภาพที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหาของบทความ โดยภาพต้องมีความคมชัด สื่อความหมาย ความละเอียดขั้นต่ำ 600 dpi ควรเป็นภาพที่มีนามสกุล ไฟล์ .jpg หรือ .png พร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพ ชื่อภาพ และอ้างอิงภาพโดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของผลงาน ซึ่งผู้เขียนต้องตรวจสอบสิทธิ์ของภาพก่อนระบุในบทความให้เรียบร้อย

            ตัวอย่าง

ภาพ 1 คุณลักษณะของพลเมืองวิวัฒน์

ที่มา: (Rangsisuttaporn et al., 2020, p. 2552)

            ตาราง

            หัวข้อตารางให้เริ่มที่มุมซ้ายด้านบนของเส้นตาราง ตามลำดับเลขที่ปรากฏในต้นฉบับ พร้อมชื่อของตาราง ข้อมูลที่นำเสนอในตารางควรมีความสอดคล้องกับข้อมูลในส่วนของเนื้อความ และเมื่อแทรกตารางแล้วต้องมีการแสดงรายละเอียดเนื้อหาของตารางเสมอ สามารถใช้คำย่อในตารางได้ แต่ควรอธิบายคำย่อที่ไม่ใช่คำมาตรฐานใน เชิงอรรถ ตารางที่สร้างขึ้นมาไม่ต้องมีเส้นสดมภ์ มีแต่เส้นแนวนอน และตารางที่นำเสนอจะต้องเป็นตารางที่มีสัดส่วนพอเหมาะกับบทความ

            ตัวอย่าง

ตาราง 1 เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ก่อนทดลองและหลังทดลอง

คุณลักษณะความเป็นพลเมืองวิวัฒน์

ก่อนเรียน

หลังเรียน

 

S.D.

แปลความ

 

S.D.

แปลความ

มิติความรู้

4.23

0.57

มาก

4.63

0.30

มากที่สุด

มิติทักษะ

4.14

0.57

มาก

4.68

0.33

มากที่สุด

มิติทัศนคติ

4.26

0.58

มาก

4.67

0.33

มากที่สุด