ารศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน สำหรับอาคารประเภทโรงแรม  

Main Article Content

กฤติเดช ดวงใจบุญ

บทคัดย่อ

 


 


บทคัดย่อ


การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตน้ำร้อนของอาคารธุรกิจประเภทโรงแรมมีอุปสรรคในด้านต้นทุนอุปกรณ์ที่ยังมีราคาสูง ส่งผลให้การคืนทุนช้ากว่าการใช้เทคโนโลยีชนิดอื่น ดังนั้นหากนำระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานที่ใช้แหล่งความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ในการผลิตน้ำร้อนควบคู่กับพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะทำให้ระบบฯ มีเสถียรภาพในการผลิตน้ำร้อน รวมทั้งมีผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการพิจารณาคัดเลือกระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานมาใช้กับอาคารธุรกิจประเภทโรงแรม จำเป็นต้องทำการศึกษาขนาดของระบบให้เหมาะสม ทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้การออกแบบระบบสามารถรองรับการผลิตน้ำร้อนที่เพียงพอต่อลูกค้าที่เข้าพัก รวมทั้งยังให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่ดีอีกด้วย โดยการศึกษาความเป็นไปได้ของงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการออกแบบระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานของโรงแรมตัวอย่างในเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมบริการอย่างหนาแน่น


จากการศึกษาพบว่า ระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานที่เหมาะสมกับโรงแรมตัวอย่างเป็นการออกแบบขนาดของระบบที่ 25%ของความต้องการน้ำร้อนทั้งหมด โดยติดตั้งตัวรับรังสีดวงอาทิตย์ขนาด 40 m2 ร่วมกับความร้อนทิ้งจากเครื่องปรับอากาศจำนวน 2 ชุด ผลิตน้ำร้อนรวมได้วันละ 2,987 ลิตร/วัน เป็นปริมาณน้ำร้อนที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ 2,375 ลิตร/วัน และปริมาณน้ำร้อนที่ผลิตได้จากความร้อนเหลือทิ้ง 612 ลิตร/วัน ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 556,500 บาท ค่าใช้จ่ายรายปี 5,021 บาท/ปี เป็นค่าดูแลรักษาและซ่อมบำรุง โดยมีผลตอบแทนทางการเงินเท่ากับ 15.6% และระยะเวลาคืนทุน 3.85 ปี ผลประโยชน์ตลอดอายุโครงการ 15 ปี มีมูลค่า 2,179,618 บาท แบ่งเป็นผลประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ 1,664,883 บาท ผลประโยชน์จากความร้อนเหลือทิ้ง 451,735 บาท และผลประโยชน์จากการลดการปลดปล่อย CO2 63,000 บาท


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงจิตร์ หิรัญลาภ. (2543). เครื่องทำน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อย่างง่ายสำหรับประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนามจธ., 23, 109-119.

จอมภพ แววศักดิ์. (2546). การหาสมรรถนะเชิงความร้อนของตัวรับรังสีอาทิตย์แบบแผ่นเรียบที่ติดตั้งบนหลังคา. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย, 17, 15-17.

รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา. (2560). การพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับสังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, ปีที่ 12 ฉบับที่ 1

ณัฐพงษ์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง. (2552). การวิเคราะห์ต้นทุนทางด้านการเงินเปรียบเทียบระหว่างการจัดการขยะแบบฝังกลบ (Sanitary Landfill) กับการจัดการขยะแบบเผาโดยใช้เทคโนโลยีก๊าซซิฟิเคชั่น (Gasification). วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 93 หน้า

Duffie, A. D. and W. A. Beckman. (1991). Solar Engineering of Thermal Processes. (2nd). New York : Wiley.

Chaurasia, P.B.L.. (1990). Solar Water Heating from Natural Surfaces. Journal of Energy Heat and Mass Transfer, 12, 31-38.

Van Nickered, W.M.K.. and Scheffler,T.B.. (1993). Measured Performance of a Solar Water Heater with a Parallel Tube Polymer Absorber. Solar Energy, 51, 339-347.