การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษา ชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล

Main Article Content

วริศรา สมเกียรติกุล
กมล เรืองเดช

บทคัดย่อ

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวทั้งการกำหนดทิศทาง การบริหารจัดการ และการดูแลรักษาทรัพยากรของชุมชนโดยเฉพาะทรัพยากรทางธรรมชาติทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และอัตลักษณ์ที่ทรงคุณค่าของชุมชน การท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนและยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนได้เป็นอย่างดีการศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของชุนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูลในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปและบริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน และ4) เสนอแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน


 ผลการวิจัยพบว่า


  1. การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่ามีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลางทุกด้านได้แก่ การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาร่วมกันการมีส่วนร่วมในวางแผนร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลและการมีส่วนร่วม   ในการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ

  1. การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูลพบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุและอาชีพส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแตกต่างกัน

  1. ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบว่าปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเรื่องการค้นหาประเด็นปัญหาร่วมกัน การปฏิบัติงานร่วมกัน การตัดสินใจ การติดตามประเมินผลและการรับผลประโยชน์ร่วมกัน

  1. ความผูกพันของชุมชนที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบว่าความผูกพันของชุมชน ในประเด็นการค้นหาประเด็นปัญหาร่วมกันการวางแผนร่วมกัน การปฏิบัติงานร่วมกัน การตัดสินใจ การติดตามประเมินผลและการรับผลประโยชน์ร่วมกันมีทั้งหมด 2 ด้านคือด้านความเชื่อมั่นและยอมรับเป้าหมายรวมทั้งค่านิยมของชุมชน และด้านความเต็มใจและใช้ความพยายามเต็มที่ในการปฏิบัติงานของชุมชนขณะเดียวกันคนในชุมชนควรมีการปรับตัวโดยจะต้องมีความเชื่อมั่นและยอมรับเป้าหมายรวมหรือค่านิยมของชุมชน และมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่เพื่อสร้างรายได้ ความเข้มแข็งแก่ชุมชน ปกป้องรักษาธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่สืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดารัตน์ สมคะเณย์. (2557). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาเทศบาล ตําบลกมลาไสย
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(53),
115-124.

ชัชวาล เอื้อสุวรรณ. (2544). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว: ศึกษา
เฉพาะกรณีสวนรุกขชาติน้ำตกธารทอง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป
ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมและการพัฒนา.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ธนินทร์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนและปัจจัยสภาพแวดล้อมในการจัดการการ
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. (จุลนิพนธ์
บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นัยนา เดชะ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลเลม็ด อำเภอไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการทองเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

ประพันธ์ พงษ์ชิณพงษ์. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเทียว. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรม
ราชูปถัมภ์.

วรรณา วงษ์วานิช. (2549). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาดา มุกดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ อำเภออุ้มผาง
จังหวัดตาก. วารสารวิจัย มสด, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 55-74.

วิลาวัณย์ นาไชยดี. (2557). การมีส่วนรวมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลกมลาไสย
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(13).

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

สถาบันพระปกเกล้า. (2551). การมีส่วนร่วม: ทฤษฏี แนวคิดและกระบวนการ. เอกสารประกอบการศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภาวันอังคารที่ 17 มิถุนายน 2551.

สุชาวลี ชูเอน. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาตำบลวังมะปราง
อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. (วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม,
มหาวิทยาลัยมหิดล).

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ. (2551). การศึกษาวิจัยในหน่วยงานท่องเที่ยวของรัฐ. จุลสารการท่องเที่ยว.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สำมะโนประชากรและเคหะปี พ.ศ. 2558 สืบค้นจาก http:///www.satun.nfe.go.th.

อังคณา แซ่เอี้ยว. (2555). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชนบนเกาะ
พีพีจังหวัดกระบี่. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา).

Agrawal A, Gibson CC. (1999). Enchantment and disenchantment: The role of community
in natural resource conservation. World Development, 27, 629-649.

Aref F, Gill SS, Farshid A. (2010). Tourism development in local communities: As a community development approach. Journal of American Science, 6, 155-161.

Aref F, Redzuan M. (2009). Community capacity building for tourism development. Journal of Human Ecology, 27, 21-25.

Chapman, M., & Kirk, K. (2001). Lessons for Community Capacity Building: A summary of the
research evidence. Retrieved 2, October, 2007, from http://www.scothomes.gov.uk/pdfs/pubs/260.pdf.

Chok, S. and Macbeth, J. (2007). Tourism as a tool for poverty alleviation: a critical analysis of pro-poor tourism and implications for sustainability. Current Issues in Tourism, 10(2&3), 144-164.

Haukel and JV. (2011). Tourism stakeholders’perceptions of national park management in Norway. Journal of Sustainable Tourism, 19, 133-153.

Jamal, T and Stonza, A. (2009). Collaboration theory and tourism practice in protected areas: Stakeholders structuring and sustainability. Journal of Sustainable Tourism, 17(2),169–190.

Kibicho, W. (2003). Community tourism: a lesson from Kenya’s coastal region. Journal of Vacation Marketing, 10(1), 33-42.

Li, W. (2005). Community decision-making: participation in development. Annals of Tourism Research, 33(1), 132-143.

Li, Y. (2004). Exploring community tourism in China: the case of Nanshan tourism zone. Journal of Sustainable Tourism, 12(3), 175-193.

Mannigel, E. (2008). Integrating parks and people: How does participation worked in protected area management. Society and Natural Resources, 21, 498-511.

Matarrita-Cascante D, Brennan MA, Luloff AE. (2010). Community agency and sustainable tourism development: The case of La Fortuna, Costa Rica. Journal of Sustainable Tourism, 18, 735-756.

Mayers J. (2005). Stakeholder Power Analysis. London: IIED.

Niezgoda A, Czernek K. (2008). Development of cooperation between residents and local authority in tourism destination. Original Scientific Paper, 56, 385-398.

Olsder K, Van der Donk M. (2006). Destination Conservation: Protecting Nature by Developing Tourism. Amsterdam: IUCN National Committee of the Netherlands.

Pongponrat K. (2011). Participatory management process in local tourism development: A
case study on fisherman village on Samui Island, Thailand. Asia Pacific Journal of
Tourism Research, 16, 57-73.

Pongponrat, K., and Pongquan, S. (2007). Community Participation in a Local Tourism Planning
Process: A Case Study of Nathon Community on Samui Island, Thailand, Asia Pacific
Journal of Rural Development, Dhaka, Bangladesh, 2, 27-46.

Scherl LM, Edwards S. (2007). Tourism, indigenous and local communities and protected areas in developing nations. In: R Bushell, PFJ Eagles (Eds.): Tourism and Protected Areas: Benefits beyond Boundaries. Wallingford: CABI International.

Tosun, C. (2006). Expected nature of community participation in tourism development. Tourism Management, 27(3), 493-504.

Tosun, C. (2000). Limits to community participation in the tourism development process in developing countries. Tourism Management, 21, 613-633.

Uphoff, N. (1979). Feasibility and Application of Rural Development Participation: A State-of-
the Art Paper. Ithaca, NY: Rural Development Committee, Cornell University.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition, New York: Harper
and Row.

Zhao, W. and Ritchie J.R. (2007). Tourism and poverty alleviation: an integrative research
Framework, 10(2&3), 119-143.