รูปแบบการประเมินเสริมพลังการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับชุมชนท้องถิ่น

Main Article Content

ฉัตรนภา พรหมมา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินเสริมพลังการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับชุมชนท้องถิ่น ดำเนินการเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานภาพและแนวทางพัฒนารูปแบบการประเมิน โดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเกตสภาพการปฏิบัติจริง สัมภาษณ์เจาะลึกและการสนทนากลุ่มผู้มีประสบการณ์บริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการประเมินเสริมพลังการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ โดยยกร่างรูปแบบการประเมินจากผลการศึกษาระยะที่ 1 ตรวจสอบความถูกต้องตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ    19 ท่านโดยใช้แบบสอบถาม นำรูปแบบการประเมินที่ปรับปรุงแล้วทดลองใช้ประเมินตนเองโดยคณะกรรมการประเมินหน่วยจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ทั้งระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินขั้นตอนนี้ โดยสอบถามความคิดเห็นผู้ทดลองใช้รูปแบบการประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมานใช้การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการศึกษาในส่วนแรกพบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีระบบบริหารจัดการงานวิจัยและ     พันธกิจสัมพันธ์ที่มีกลไกเชิงระบบทั้งระดับคณะและมหาวิทยาลัย แต่รูปแบบการประเมินที่ช่วยให้ได้สารสนเทศเพื่อการปรับปรุงพัฒนายังไม่ชัดเจน ควรมีการพัฒนารูปแบบการประเมินให้ได้สารสนเทศเพื่อการจัดสิ่งสนับสนุนเสริมพลังการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบ เป็นต้นแบบที่ดี และในส่วนที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการประเมินเสริมพลัง พบว่ารูปแบบการประเมิน (PIPOO Model) มีองค์ประกอบที่ประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ 1.การประเมินการออกแบบการบริหารจัดการ 2.การประเมินปัจจัยดำเนินการ 3.การประเมินกระบวนการ 4.การประเมินผลผลิต และ 5.การประเมินผลลัพธ์ โดยมีตัวชี้วัดในการประเมิน 9 ตัวชี้วัด ผลการตรวจสอบตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ทดลองใช้รูปแบบ การประเมิน พบว่ารูปแบบการประเมินมีความเหมาะสม ถูกต้อง เป็นประโยชน์ และเป็นไปได้ในระดับมากและมากที่สุดทุกรายการ

Article Details

บท
บทความรับเชิญ

References

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.(2559).เอกสารประกอบการประชุมเวทีเสวนาประสบการณ์ความสำเร็จของสถาบันวิชาการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ในการประชุมวิชาการ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ฉัตรนภา พรหมมา. (2560). การพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับสังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 12 (1) :7-11

Nevo, D. (1983). The conceptualization of educational evaluation: An analytical review of the literature. Review of Educational Research, 53(1), 117-128

Patton, Q. M. (1997). Utilization Focused Evaluation: The New Century Text (3rd Ed.), London: SAGE.

Provus, M.N.(1971).Discrepancy evaluation.California :McCutchan.Publishing co.