Open Source Software : อิสรภาพแห่งการสร้างคุณค่าและพัฒนางานวิจัย

Main Article Content

สมคิด ทุ่นใจ

บทคัดย่อ

ในรอบหลายปีที่ผ่านมาองค์กรต่างๆ มีการนำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร เช่น การนำซอฟต์แวร์สำนักงาน (Openoffice.org)  มาแทนซอฟต์แวร์ MS-office เพื่อให้บุคลากรสามารถใช้งานประเภทประมวลผลคำ (Word Processing) แผ่นตารางคำนวณ (Spreadsheet) และการนำเสนอข้อมูล (Presentation) นอกจากนั้นยังมีการนำซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating Software) เช่น Linux ซอฟต์แวร์ให้บริการเว็บ (Web Server) เช่น อาปาเช่ (Apache) และซอฟต์แวร์ให้บริหารฐานข้อมูล (Database Server) เช่น MySQL ตลอดทั้งซอฟต์แวร์ประเภทสร้างและบริหารเว็บไซต์ (Content Management System) สำหรับการสร้างเว็บไซต์ เช่น Open Source Joomla เป็นต้น จากที่กล่าวมาพบว่า การที่องค์กรนำซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้งาน มีเหตุผลหลักมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดค่าใช้จ่าย เพิ่มทางเลือกในการใช้ซอฟต์แวร์ รวมทั้งการสร้างโอกาสในการดำเนินงานขององค์กร

          ดังนั้นถ้าองค์กรทั้งภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่มีหน่วยงานด้านวิจัยและพัฒนา มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในการดำเนินงานวิจัย จัดทำเอกสารและการเผยแพร่ผลงานวิจัย จะทำให้เกิดผลดีต่อการบริหารจัดการงานวิจัย สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เนื่อง Open Source Software มักจะเป็นในลักษณะ Community ที่มีการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกันทำให้มีอนาคตอีกยาวนาน นอกจากนั้นจะเห็นว่าในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สนับสนุนงบประมาณทุนวิจัย ทำให้เสี่ยงต่อการละเมิดสิขสิทธิ์ถ้ามีการนำซอฟต์แวร์เอกสิทธิ์เฉพาะ (Proprietary Software) มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

สมคิด ทุ่นใจ, สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

-

References

-