ศักยภาพการใช้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างรายได้ของกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เจิมขวัญ รัชชุศานติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการภูมิปัญญาของผู้สูงอายุภายหลังการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมศักยภาพการใช้ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการใช้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างรายได้ของผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการภูมิปัญญา ของผู้สูงอายุเป็นลักษณะที่เคยมีการรวมกลุ่มในการประกอบธุรกิจมาก่อน ได้รับความช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาวัตถุดิบ และการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เหตุผลในการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งการเสริมสร้างรายได้และในปัจจุบันถ้าจะต้องมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ควรจะมีลักษณะเป็นวิสาหกิจชุมชน และต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐในด้านกองทุนหรือเงินสนับสนุน

          ด้านศักยภาพการใช้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ ควรใช้วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกับใคร แต่ไม่มีแหล่งเงินทุน แหล่งสนับสนุน ไม่ใช้อุปกรณ์ เครื่องจักรในการถ่ายทอดภูมิปัญญา มีเพียงแต่เครื่องมือแบบพื้นบ้านที่ทำขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุที่มีภูมิปัญญาส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน และไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร รูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาไม่แน่นอนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีการจัดตั้งรูปแบบองค์กรใด ๆ เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของตนเอง 

The Elderly’s Potentiality of Wisdom Usage for remuneration,

Chiangmai  Province.

This research is objected tostudy the wisdom management style of the elderlyparticipating in a project in order to promote the potentiality of the wisdom usage in Chiang Maiprovince and to examine the wisdom elderly ’s potentiality usage to generate revenue within Chiang Mai province. This research method was the participatory

action research (PAR) and the data were collected by the interview. The results showed that the pattern on the wisdom management used to gather in the business group  for 

supplying the materials and train the staff so as to strengthen among the members and increase the income. Nowadays, the community enterprise should be raised; however, the financial support from the government sector should be assisted.   

          The wisdom elderly ’s potentiality usage to generate the occupation and income should propagate the distinctive and unique wisdom, but there were none of fund, supporting resources, equipment, and machinery to transfer the wisdom. The traditional tools were made for demonstrating the wisdom easily and comfortably. The wisdom elderly mostly faced with their debts and could not perform the management fundamental. However, the pattern of the wisdom knowledge were uncertain, it could adapt or change depending on the situations. There was no organization established to publicize the community’s own wisdom. 


Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เจิมขวัญ รัชชุศานติ, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

-

References

-