รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง ตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

วิวัฒชัย หล่มศรี
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยและการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยและเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานที่เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหากับสรุปสังเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการสรุปเชิงอุปนัยร่วมกับวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของไทยแม้จะมีแนวคิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 แล้วก็ตาม แต่ยังไม่มีความชัดเจนทั้งในผลลัพธ์และกระบวนการปฏิบัติ โดยเฉพาะคุณลักษณะของพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยที่สังคมไทยต้องการ ระบบการศึกษาที่ผ่านมาเน้นการสร้างคนไทยให้เป็น “คนดี” ที่ยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและรูปแบบการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างครบถ้วนนัก ขณะที่การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาโดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งเป็นช่วงวัยสุดท้ายของเยาวชนก่อนเข้าสู่สถานะพลเมืองในมิติการเมืองการปกครองอย่างเต็มตัว ยังคงใช้รูปแบบที่ครูมีบทบาทสำคัญมากกว่าผู้เรียน เน้นท่องจำมากกว่าใช้กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการฝึกปฏิบัติเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริงในชุมชนและสังคมมีลักษณะแยกสถานศึกษาออกมาจากชุมชนในความเป็นจริง ดังนั้น รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นซึ่งมีสาระสำคัญประกอบด้วยความหมาย วัตถุประสงค์ แนวคิดพื้นฐานโครงสร้าง เป้าหมาย องค์ประกอบ และยุทธศาสตร์ เป็นรูปแบบที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิผลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอันเป็นการเตรียมเยาวชนให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในสังคมการเมืองไทยต่อไปได้

A Learning Management Model for Democratic Citizenship Development of Upper Secondary School Students

The purposes of this research were to study the character of democratic citizenship to formulate the guidelines for providing democratic citizenship education and to develop a learning management model for democratic citizenship development of upper secondary school students.The research conduction used a mixed method, emphasizing on a qualitative method.  Documentary research, structured interview and focus group discussion were used to collect the qualitative data whereas a survey questionnaire was used to gather the quantitative data.  To analyze the data, content analysis and analytic induction were employed. 

The research results indicated that democratic citizenship education in Thailand is not clear in both outcome and process although it has been of interest since 1932. The purposes of Thai education focus on being a “good man” who lacks of some characters that democratic citizens need to have for living in democratic society.The learning management in school does not support democratic citizenship development of upper secondary school students who are going to be political citizens in a few years.  Teachers still have an influence on directing students. Their lessons focus on contents by lecture more than activities for critical thinking and practicing in their local communities. 

The learning management model for democratic citizenship development of upper secondary school students, which is the output of this research, is developed for school teachers to prepare upper secondary students to be active citizens for Thai society.  The model consists of definition, purposes, basic philosophy, structure, targets, learning components and strategies. It can be useful and effectively used for democratic citizenship development of upper secondary school students.


Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วิวัฒชัย หล่มศรี, สาขาวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

-

References

-