ความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรผู้ปลูกผัก ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศุทธิดา มิ่งสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรผู้ปลูกผักในอำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่  1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล  สภาพเศรษฐกิจ  และสังคม ของเกษตรกรผู้ปลูกผักตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสม  2) เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสม ของเกษตรกรผู้ปลูกผัก  3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสมจำแนกตามประเภทของเกษตรกรผู้ปลูกผัก 4) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคตลอดจนข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกผักตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสม โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  แบบสอบถาม  ทำการประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  ด้วยสถิติพรรณนา  การวิเคราะห์การถดถอย  และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว

       ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  มีอายุเฉลี่ย 48 ปี  จบการศึกษาระดับประถมศึกษาภาคบังคับ  มีสถานภาพสมรส  มีรายได้จากการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมเฉลี่ยปีละ 37,751 บาท  มีรายได้จากภายนอกภาคการเกษตรเฉลี่ยปีละ 24,865 บาท  มีรายได้รวมเฉลี่ยปีละ 62,666 บาท  มีพื้นที่ในการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมเฉลี่ย 2.45 ไร่  เป็นที่ดินของตนเองเฉลี่ย 1.86 ไร่  เป็นที่ดินเช่า 0.60 ไร่  มีแรงงานรวมเฉลี่ย 4.29 คน  เป็นแรงงานในครัวเรือน 1.84 คน  แรงงานจ้าง 2.45 คน มีประสบการณ์ในการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมเฉลี่ยปีละ 3.5 ปี  ได้รับการฝึกอบรมเฉลี่ยปีละ 1.47 ครั้ง  ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกผักตามแนวเกษตรดีที่เหมาะสม  มีการติดต่อเจ้าหน้าที่เฉลี่ยปีละ 1.87 ครั้ง  เรื่องที่ติดต่อมากที่สุดคือการบันทึกและการตามสอบเฉลี่ย 90.5 ครั้งต่อปี และมีการรับรู้ข่าวสารผ่านทางวิทยุมากที่สุดเฉลี่ย 67.2 ครั้งต่อปี 

2) เกษตรกรผู้ปลูกผักตามแนวการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมมีความรู้รวมทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การพักผลผลิตการขนย้ายในแปลงปลูก สุขลักษณะส่วนบุคคล การบันทักข้อมูลและการตามสอบ อยู่ในระดับปานกลาง มีการปฏิบัติทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การพักผลผลิตการขนย้ายในแปลงปลูก สุขลักษณะส่วนบุคคล การบันทักข้อมูลและการตามสอบ ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรู้คือ การศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสม การได้รับการฝึกอบรบ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ และการรับข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติคือ การศึกษา  การได้รับการฝึกอบรม  และการรับข้อมูลข่าวสาร 3) จากการเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรทั้ง 3 ประเภทพบว่ามีความแตกต่างกันอยู่สองกลุ่ม โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 คือประเภทตนเองมีความรู้และการปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาคือประเภทบริษัท และประเภทโครงการหลวง ตามลำดับ 4) ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรที่ปฏิบัติตามแนวการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมได้แก่ปัญหาราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน เกษตรกรต้องการให้มีการประกันราคาผลผลิต

Knowledge and practice in accordance with good agricultiral

Practice (gap) of farmers producing vegetables

In maerim district, chiangmai province

The objectives of this study were to;1) explore socio-economic attributes of farmers growing vegetables in accordance with good and appropriate farming in Mae Rim district, Chiangmai province ; 2) explore knowledge and practice in accordance with good and appropriated farming of the farmers ; 3) compare knowledge and practice of the farmers ; and 4) explore problems encountered and suggestions of the farmers. A set of questionnaires was used for date collection administered with 201 farmers growing vegetables in Mae Rim district, Chiangmai province. Obtained date were analyzed by using the Statistical Package. Also, descriptive statistics, regression analysis, and one-way ANOVA analysis were used for the statistical treatment.

Results of the study showed the following: 1) Moet of the respondent were male, 48 years old on average, compulsory education, and married. They had an average annual income earned from good and appropriate farming for 37,751 bath and from non-agricultural sector for 24,865 bath or 62,662 bath altogether. The respondents had 2.45 rai of good and appropriate farming area (1.86 rai of land holding and 0.60 rai of leased land) They had 4.29 workforce or 1.84 and 2.45 or the household and hired workforce, respectively on average. They had experience on good and appropriate farming practice for 3.5 years on average and used to attend training for 1.47 times on average. Most of the respondents were members of the cooperative for vegetable growers. They contacted concerned personnel on good and appropriate farming practice for 1.87 times on average and they contacted about recording/monitoring most. The respondents perceived news or information about good and appropriate farming practice through radio most (67.2%). 2) It was found that the respondents had a moderate level of knowledge and practice in accordance an the good appropriate farming (is out of 24 items). However, they had a high level based on 40 items of question (=3.68). 3) Based on the comparison of knowledge and practice. It was found that there was a difference between the Royal Project and the company/farming owner whereas between the company and farming owner had no difference. 4) For problems encountered, output price uncertainty. Farmers want the guaranteed yield.


Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ศุทธิดา มิ่งสกุล, สาขาพัฒนาทรัพากรชนบท มหาวิทยาลัยแม่โจ้

-

References

-